Walk-in Closet คืออะไร? มีกี่แบบ? และแนวทางในการออกแบบ

Walk-in Closet คืออะไร?

                ตู้เสื้อผ้าแบบ Walk-in คือโซนห้องแต่งตัวที่มีที่เก็บเสื้อผ้าขนาดใหญ่ เป็นพื้นที่ หรือห้องๆ หนึ่ง ที่มีตู้เสื้อผ้าไว้เก็บเสื้อผ้าหลากหลาย มีตู้เก็บของต่างๆ เช่น ตู้เก็บกระเป๋าถือ กระเป๋าเดินทาง มีตู้เก็บรองเท้าที่อาจมีขนาดความยาวหลายๆ เมตร มีลิ้นชักสำหรับเก็บเครื่องประดับ สร้อยคอ ต่างหู นาฬิกา เนคไท ถุงน่อง ถุงเท้า เรียกว่าสามารถเก็บสิ่งของจำเป็นที่ต้องใช้ เพื่อให้ตอบโจทย์การแต่งตัวตั้งแต่หัวจรดเท้าไว้ในพื้นที่เดียวกันนี้

                ตู้เสื้อผ้าแบบ Walk-in เป็นตู้เสื้อผ้าขนาดใหญ่พอที่จะให้คนเดินเข้าไปดูรายการต่างๆ ได้ รูปแบบจะมีลักษณะเป็นห้องที่มีตู้อยู่ติดผนังมีราวแขวนผ้า ชั้นวางของ และลิ้นชัก โซนพื้นที่ที่ทำเป็น Walk-in Closet จะออกแบบให้มี หรือไม่มีประตูก็ได้ หรือบางดีไซน์ก็ออกแบบให้มีประตูบานเลื่อนเพื่อกั้นโซนแต่งตัวให้เป็นสัดส่วน

                ตัวตู้เสื้อผ้าแบบ Walk-in มักไม่นิยมทำหน้าบานตู้ เพราะวัตถุประสงค์คือ ต้องการโชว์ให้เห็นภาพรวมของเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับ ฯลฯ ที่จัดเรียงไว้ และมักจะติดตั้งกระจกขนาดใหญ่ที่สามารถส่องได้เต็มตัวหนึ่งบาน หรือมากกว่า รวมถึงมีการออกแบบแสงสว่างใน ตู้เสื้อผ้าให้เกิดความสวยงาม และส่องสว่างเพียงพอต่อการมองเห็นสิ่งของที่อยู่ในตู้ รวมถึงอาจมีม้านั่ง หรือเก้าอี้สำหรับเป็นจุดนั่งพักในการสวมใส่เสื้อผ้า หรือรองเท้า และในบางดีไซน์อาจมีการเพิ่มส่วนของโต๊ะเครื่องแป้ง ให้ตั้งอยู่ในจุดใดจุดนึงของโซน Walk-in

.

Walk-in Closet มีกี่แบบ?
หลักๆ มี 2 แบบ คือ

• แบบไม่มีหน้าบาน
                ข้อดีคือ สามารถมองเห็นเสื้อผ้า และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆได้ในการมองครั้งเดียว ไม่ต้องไล่เปิดบานตู้ทีละบาน แต่การทำแบบไม่มี หน้าบาน คุณต้องมั่นใจว่าจะสามารถจัดเสื้อผ้าต่างๆ ให้ดูดีเป็นระเบียบได้

• แบบมีหน้าบานสำหรับเปิดปิดตู้ 
               ข้อดีคือ หากจัดเสื้อผ้าไม่เป็นระเบียบมากก็ดูไม่น่าเกลียด เพราะมีหน้าบานช่วยพลางไว้ แต่การมีหน้าบานก็อาจทำให้ไม่สามารถมองเห็นภาพรวมของสิ่งของเพื่อหยิบใช้ได้ครบครันตามรูปแบบที่เป็นเสน่ห์หลักของ Walk-in Closet คือ จำลองร้านเสื้อผ้าหรูๆ มาตั้งไว้ในบ้าน

.

แนวทางในการออกแบบ Walk-in Closet
                สำหรับคนรักการแต่งตัว การออกแบบบิ้วอินตู้เสื้อผ้า Walk-in Closet ให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตัวเองเพื่อที่จะสามารถรวบรวมของทุกชิ้นที่ชอบมาไว้ในที่เดียวกัน รวมถึงการหาอุปกรณ์ฟังก์ชั่นต่างๆ มาเป็นตัวช่วยในการจัดระเบียบตู้ เพื่อช่วยให้ง่ายต่อการหยิบใช้ และยังเป็นการประหยัดพื้นที่ไปในตัวด้วยเป็นสิ่งสำคัญมาก เรามาดูหลักสำคัญในการออกแบบกันค่ะ

แนวทางที่ 1. กำหนดหมวดหมู่ของการเก็บ
                การออกแบบ Walk-in ให้ตอบโจทย์กับผู้ใช้งานเป็นเรื่องที่ต้องวางแผน หลักๆ จะเน้นเรื่องของการแบ่งโซนพื้นที่ให้เพียงพอต่อการจัดเก็บของแต่ละประเภท เช่น

               • โซนพื้นที่สำหรับเสื้อผ้าที่เหมาะกับการแขวน  เริ่มจากแบ่งจำนวนของพื้นที่สำหรับแขวนเดี่ยว และแขวนสองชั้น อย่างเหมาะสม เราต้อง  ดูว่าเสื้อผ้าที่ต้องจัดเก็บโดยการแขวนส่วนใหญ่นั้นเป็นเสื้อผ้าประเภทใด? ส่วนใหญ่แล้วเสื้อผ้าของคุณเป็นแนวไหน ถ้าคุณมีเสื้อเชิ้ต กระโปรง เดรสตัวสั้น หรือกางเกงมากหน่อย ก็จะเหมาะกับตู้เสื้อผ้าที่แบ่งแขวนสองชั้น ซึ่งการติดตั้งราวแขวนแบบ 2 ระดับ บน – ล่างนี้ ช่วยทำให้ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บได้มาก โดยมากนิยมแบ่งช่องราวแขวนสำหรับเสื้อ และกางเกงแยกกัน โดยจัดเรียงเสื้อที่มีสีเดียวกันไว้ด้วยกัน และแขวนขึ้นราวแบบไล่เฉดสี  ในส่วนราวแขวนด้านล่าง อาจจะแขวนจัดกางเกง หรือกระโปรงตัวสั้นโดยแยกเป็นกลุ่มสี และไล่เฉดเช่นเดียวกันกับราวด้านบน 

แต่หากเสื้อผ้าส่วนใหญ่เป็นเดรสยาว ชุดราตรียาว หรือเสื้อโค้ทตัวยาว การใช้ราวแขวนแบบราวเดี่ยวก็จะตอบโจทย์การใช้งานได้มากกว่า แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ราวแขวนที่มีระบบรางเลื่อนติดตั้งกับโครงตู้สำหรับแขวนเสื้อผ้า เนื่องจากมีฟังค์ชั่นที่สามารถดึงรางออกมาเลือกหยิบเสื้อผ้าชุดที่มีความยาว มีรายละเอียด หรือเป็นชิ้นใหญ่ได้ง่ายกว่า อีกทั้งยังตอบโจทย์เรื่องประหยัดพื้นที่ แถมทำให้ตู้ Walk- in Closet ดูสวย และทันสมัย

.

.

.

                • โซนพื้นที่สำหรับเสื้อผ้าที่สามารถพับเก็บได้ เช่น เสื้อยืด T-Shirt กางเกงขาสั้น เสื้อผ้าไหมพรม ชุดนอน ชุดลำลอง ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ เสื้อผ้าที่ยับยาก หรือไม่ยับควรไว้ในลิ้นชักตู้ เพราะการแขวนเสื้อผ้าเหล่านี้จะทำให้กินพื้นที่ในตู้มากเกินไป และในหลักการที่ถูกต้องของการจัดระเบียบตู้เสื้อผ้า ลักษณะของเสื้อผ้าเหล่านี้มักมีความยากในที่จะทำการแขวนขึ้นราวแล้วทำให้ภาพรวมของตู้ดูดี ดังนั้นการเก็บไว้ในลิ้นชักจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด

                ทั้งนี้ แทนที่จะทำเป็นลิ้นชักเชยๆ ขอแนะนำให้ลองใช้อุปกรณ์ตกแต่ง ตะกร้าใส่ผ้าที่มีระบบรางเลื่อน เป็นฟังค์ชั่นในการจัดเก็บ รับรองว่าตอบโจทย์การใช้งาน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความหรูหราให้กับลิ้นชักใน Walk-in Closet อย่างแน่นอน

.

.

.

.

                • โซนพื้นที่สำหรับรองเท้าคู่โปรด หากต้องการให้ Walk-in Closet สามารถจัดเก็บรองเท้าคู่โปรดโดยมั่นใจว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่นรบกวน หรือเรื่องความสกปรก การจัดวางพื้นที่สำหรับเก็บ หรือโชว์รองเท้าก็สามารถทำได้ โดยกำหนดช่องว่างสำหรับการจัดเก็บรองเท้า ให้มีความกว้างประมาณ 12 นิ้ว, ช่องวางสำหรับการจัดเก็บรองเท้าบูท รองเท้าหุ้มข้อ ให้มีความสูงประมาณ 3 – 5 นิ้ว และช่องว่างสำหรับการจัดเก็บรองเท้าบูทแบบยาว ให้มีความสูงประมาณ 9 – 17 นิ้ว

                ทั้งนี้นอกจากการทำตู้รองเท้าแบบทั่วไปแล้ว เราอาจใช้อุปกรณ์จัดเก็บรองเท้าที่มีให้เลือกหลากหลายแบบติดตั้งในโครงตู้  ซึ่งจะช่วยตอบโจทย์การใช้งานที่ดีมากๆ อุปกรณ์ชั้นวางบางแบบ มีฟังก์ชันที่สามารถหมุนชั้นวาง เพื่อเลือกดูและหยิบใช้งานรองเท้ามากมายหลายคู่ได้อย่างสะดวกสบาย อีกทั้งชั้นวางเหล่านี้ จะมีระยะที่ออกแบบมาให้เหมาะสมกับการวางรองเท้าแต่ละประเภท และวางในระยะที่เหมาะสม ซึ่งเป็นการช่วยป้องกันความเสียหายจากการเสียดสีกัน เรียกได้ว่า เป็นอุปกรณ์จัดเก็บรองเท้าที่คู่ควรกับ Walk-in Closet ได้ดีที่สุด

.

.

.

.

.

                • โซนพื้นที่เก็บของใช้ชิ้นเล็ก นอกจากเสื้อผ้า และรองเท้าแล้ว ของใช้จำเป็น เช่น ชุดชั้นใน ถุงเท้า ถุงน่อง เข็มขัด ผ้าพันคอ เครื่องประดับตกแต่งเสื้อผ้า ฯลฯ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็ต้องการพื้นที่จัดเก็บที่เป็นสัดส่วนเช่นกัน ในโซนลิ้นชักได้ถูกออกแบบมาเอื้อประโยชน์ต่อการจัดเก็บของได้เต็มพื้นที่ แต่หลายคนมักไม่รู้ว่าจะเก็บอะไรดี หรือเก็บไว้แล้วหาของไม่เจอต้องรื้อของด้านนอกออกก่อนถึงจะหาของข้างในได้

               ดังนั้น การใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับแบ่งช่องในการจัดเก็บ เช่น ถาดที่มีช่องแบ่งเป็นตารางไว้ในลิ้นชักสำหรับเก็บชุดชั้นใน ถุงเท้า ถุงน่อง เข็มขัด ผ้าพันคอ ฯลฯ จะเป็นตัวแก้ปัญหาเรื่องการจัดวางอย่างเป็นสัดส่วน สามารถมองเห็นประเภทของสิ่งของ อีกทั้งยังหยิบใช้ได้ง่าย ไม่ต้องรื้อลิ้นชักให้วุ่นวายอีกต่อไป

.

.

                • โซนช่องลับเก็บของมีค่า เช่น เก็บเครื่องประดับราคาแพง นาฬิกา เครื่องประดับ หรือ เอกสารสำคัญ หากต้องการจัดเก็บสิ่งของมีค่าที่ไว้ในโซนนี้ เราสามารถหาอุปกรณ์ ลิ้นชักนิรภัยมาติดตั้งในตู้ Walk-in Closet เพื่อให้ทำหน้าที่เหมือนเซฟขนาดเล็ก ที่ต้องใช้ระบบเปิด-ปิดด้วยการสแกนนิ้ว กดรหัส หรือไขกุญแจ เป็นอปุกรณ์ที่ดีที่จะสร้างความปลอดภัยในโซนเก็บของมีค่าของ Walk-in Closet

No.BKC31.2

.

แนวทางที่ 2. ใส่ใจกับความลึก และความสูงของตู้เสื้อผ้า

                • ความลึก ของตู้สำหรับเสื้อผ้าที่ต้องแขวน  เสื้อผ้าส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นชุดเดรส เสื้อเชิ้ต เสื้อคลุม หรือเสื้อกันหนาวตัวหนา มักจะจัดเก็บได้พอดีกับผู้ที่มีความลึกประมาณ 24 นิ้ว หากความลึกน้อยกว่านั้น เสื้อผ้าก็อาจจะยื่นออกมาจากตู้ หรือเลยออกมาดูไม่เรียบร้อย และขัดทางเดินได้  และในกรณีที่ทำ Walk-in Closet แบบมีหน้าบานตู้ ก็จะทำให้ไม่สามารถปิดบานตู้ได้สนิท

                • ความลึก ของตู้สำหรับเสื้อผ้าที่พับเก็บ แนะนำให้มีพื้นที่กว้างอย่างน้อย 9 – 15 นิ้ว

                • ความสูง ของตู้เสื้อผ้า เสื้อผ้าประเภทชุดเดรสยาว ชุดราตรี เสื้อโค้ทตัวยาว หรือเสื้อหนาวขนาดใหญ่ ต้องเผื่อพื้นที่สำหรับการแขวนให้สูงประมาณ 68 นิ้วเป็นอย่างน้อย หากจะแขวนกางเกงทำงาน หรือกางเกงยีนส์ ควรมีระยะความสูงอยู่ที่ 50 นิ้ว หรือ 25 นิ้ว กรณีที่จะแขวนแบบพับครึ่งตัวโซนแขวนกระโปรงควรมีขนาดความสูงของตู้อยู่ที่ 45 นิ้ว

.

.

.

.

.

.

.

แนวทางที่ 3. การออกแบบการใช้งาน

                ในส่วนพื้นที่เข้ามุม พื้นที่มุมมักเป็นความท้าทายในการออกแบบเพื่อที่จะใช้สอยพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะกับการออกแบบ Walk-in Closet เองก็เช่นกัน แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ส่วนที่ไม่สามารถเข้าถึงได้สะดวกนัก แต่ก็สามารถออกแบบให้เป็นมุมที่จัดเก็บของใช้ที่นานๆ จะหยิบออกมาใช้ได้ อย่างเช่น กระเป๋าเดินทาง หรือเสื้อกันหนาวตัวใหญ่ๆ บางดีไซน์อาจติดตั้งอุปกรณ์ราวแขวนผ้าแบบโค้งเข้ามุมเพื่อแขวน และวางของใช้ เพื่อให้เข้าถึงพื้นที่ได้ง่าย ซึ่งถือเป็นอุปกรณที่ช่วยจัดการตู้เสื้อผ้าบริเวณเข้ามุมให้ออกมามีภาพรวมที่ดูสวยงามได้

.

บทความที่เกี่ยวข้อง
ห้องแต่งตัว รวม 5 ไอเดีย ห้องแต่งตัว
ชั้นวางรองเท้า อุปกรณ์ชั้นวางรองเท้า
11 ไอเดียตกแต่งห้องเก็บรองเท้าด้วย ชั้นวางรองเท้า
เทคนิคการจัดตู้เสื้อผ้าให้ดูมีระเบียบ น่าใช้งาน