วิธีเก็บสายไฟ จัดระเบียบสายไฟ และเทคนิคการซ่อนสาย เครื่องใช้ไฟฟ้าในมุมต่างๆ

ต่อให้พยายามจัดห้องในบ้าน หรือมุมที่ทำงานให้สวยงามแค่ไหน หากมีสายไฟที่ดูรกรุงรังพันกันยุ่งเหยิง มีสายเคเบิ้ล ปลั๊กโคมไฟ ปลั๊กพ่วง หรือสายชาร์จต่างๆ กองอยู่บนโต๊ะ ฯลฯ ก็อาจทำให้ภาพรวมของบรรยากาศห้องดูไม่สบายตาขึ้นมาได้ทันที ดังนั้นถ้าต้องการแต่งห้องให้ออกมาสวย ดูเนี้ยบ และมีระเบียบ เห็นทีเราจะละเลยเรื่องการจัด เก็บสายไฟให้เป็นระเบียบไปไม่ได้อย่างแน่นอนนะคะ

หากคุณผู้อ่านกำลังประสบปัญหาเหล่านี้อยู่ ลองมาดูไอเดียวิธีเก็บสายไฟ เพื่อจัดระเบียบและซ่อนสายไฟ ด้วยการใช้อุปกรณ์ตัวช่วยที่จะทำให้มุมต่างๆ กลับมาดูเนี๊ยบ มีระเบียบเรียบร้อยกันค่ะ

.

วิธีเก็บสายไฟมุมที่ 1 : มุมโต๊ะทำงาน
โต๊ะทำงานอีกมุมยอดฮิตที่ติดอันดับความอีรุงตุงนัง ระโยงระยางด้วยสายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นสายคอมพิวเตอร์ สายเครื่องปริ้นเตอร์ สายแล็ปท๊อป สายชาร์ตมือถือ และอื่นๆ การจัดระเบียบสายไฟบนโต๊ะทำงานให้ดี อาจจะต้องใช้อุปกรณ์ตัวช่วยที่ตอบโจทย์เรื่องพื้นที่ของการวางอุปกรณ์ที่เหมาะสม เพื่อจะเชื่อมต่อกัยปลั๊กไฟ และจัดระเบียบสายไฟได้อย่างลงตัว

อุปกรณ์ตัวช่วยที่แนะนำ
“ช่องระบายอากาศ และร้อยสายไฟ”

ช่องระบายอากาศ No.PV001-BK


ตัวช่วยจัดระเบียบสายไฟที่ฝังไว้กับหน้าท๊อปของโต๊ะทำงาน ติดตั้งโดยฝังไว้บริเวณมุมใดมุมหนึ่งของโต๊ะ เพื่อที่จะร้อยสายไฟจากเครื่องไฟฟ้าต่างๆ ผ่านช่องร้อยสายไฟ ไปเก็บซ่อนไว้ใต้โต๊ะทำงาน

“ถาดวางคีย์บอร์ดที่มีรางเลื่อน” คือ อุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นถาดพร้อมรางเลื่อน ออกแบบมาให้ติดตั้งไว้กับโครงตู้ใต้โต๊ะเพื่อจะสามารถใช้งานดึงเข้าออกเหมือนลิ้นชัก ถาดวางคีย์บอร์ดนอกจากจะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มพื้นที่ในการวางสิ่งของแล้ว ยังเป็นฟังค์ชั่นที่สามารถเก็บสายไฟให้ซ่อนไว้ใต้โต๊ะได้ด้วย

.

วิธีเก็บสายไฟมุมที่ 2 : มุมโต๊ะประชุม
โต๊ะประชุม เป็นมุมที่ต้องมีจุดเสียบปลั๊กเพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ไฟฟ้าหลากหลายชนิด เช่น โน้ตบุ๊ค เครื่องฉายสไลด์ มือถือ ฯลฯ

อุปกรณ์ตัวช่วยที่แนะนำ
“รางร้อยสายไฟ” คือ อุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นช่องสำหรับร้อยสายไฟ ติดตั้งโดยการเจาะฝังที่หน้าท๊อปของโต๊ะ ซึ่งเป็นตัวช่วยในการจัดระเบียบสายไฟให้ไม่มาพันกองยุ่งเหยิงอยู่บนโต๊ะประชุม ซึ่งช่องร้อยสายไฟมีให้เลือกใช้หลายรูปแบบ หลายรูปทรง และหลายขนาด เช่น

  • ช่องร้อยสายไฟแบบเป็นรูเจาะ
    เป็นอุปกรณ์ที่ฝังบนหน้าโต๊ะโดยมีรูสำหรับร้อยสายไฟทะลุลงไปใต้โต๊ะ มีทั้งทรงเหลี่ยม ทรงกลม ทรงรี และมีขนาดหลากหลายให้เลือกใช้

.

  • ช่องร้อยสายไฟแบบมีกล่องเก็บ
    เป็นอุปกรณ์ที่ฝังบนหน้าโต๊ะ โดยมีรูร้อยสายไฟ และมีกล่องสำหรับเก็บสายไฟ หรือเก็บปลั๊กพ่วงไว้สำหรับใช้งาน ช่องร้อยสายไฟแบบมีกล่องทำหน้าที่เหมือนสร้างชั้นวางซ่อนปลั๊กพ่วงไว้แทนที่จะวางไว้บนโต๊ะ

.

วิธีเก็บสายไฟมุมที่ 3 : มุมทีวีติดผนัง
มุมที่ติดตั้งทีวีของทุกห้องในบ้านส่วนใหญ่มักไม่ได้มีแค่ทีวี แต่ยังมีเครื่องอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เช่น กล่องทีวีดิจิตัล เครื่องเสียง หรือลำโพง ล้วนแล้วต้องมีสายไฟที่เชื่อมต่อกัน
สำหรับห้องที่ไม่ได้มีการทำเฟอร์นิเจอร์บิ้วอินที่ออกแบบช่องซ่อนสายไฟไว้ โดยมากก็มักจะต้องรวมบรรดาสายไฟทั้งหลายกองไว้หลังทีวี หรือไม่ก็กองแอบไว้ที่พื้น ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้ดูเกะกะรกตา แต่ยังเป็นแหล่งสะสมฝุ่นที่ยากแก่การทำความสะอาด

อุปกรณ์ตัวช่วยที่แนะนำ
“ช่องร้อยสายไฟ /ท่อร้อยสายไฟ” เป็นตัวช่วยรวบเก็บสายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดไว้ด้วยกัน แบ่งออกเป็น

  • แบบเป็นท่อที่มีช่องให้ร้อยสายไฟทั้งหมดไว้ข้างใน

.

.

  • แบบเป็นเกลียว (กระดูกงู) ให้พันรวบสายไฟไส้ด้วยกัน
ช่องร้อยสายไฟ กระดูกงู

.

วิธีเก็บสายไฟมุมที่ 4 : มุมห้องครัว
ห้องครัวในแต่ละบ้านที่ทำการต่อเติมเป็นซิงค์เคาน์เตอร์ครัวโดยมากจะมีการเดินจุดปลั๊กไฟสำหรับเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ แต่การใช้งานจริงส่วนใหญ่จะเจอกับปัญหาปลั๊กไม่เพียงพอ ทำให้หลายบ้านต้องนำปลั๊กพ่วงมาเชื่อมต่อเพื่อเสียบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวสารพัดชิ้น หรือไม่บางทีระยะที่ตั้งวางเครื่องใช้ไฟฟ้ากับระยะของปลั๊กไฟที่เดินไว้ก็ห่างกันมาก ทำให้เจอกับปัญหาสายไฟโยงยาวเกะกะอยู่บนเคาน์เตอร์ บางบ้านก็อาจจะมัดสายไฟแอบๆ ห้อยไว้อยู่บริเวณหลังตู้ ซึ่งนอกจากจะดูไม่สวยงามแล้วยังเป็นที่หมักหมมของฝุ่นละออง รวมถึงอาจมีอันตรายได้หากสายไฟนั้นโยงไปอยู่ในจุดที่ใกล้ก๊อกน้ำ ดังนั้นการจัดระเบียบสายไฟมุมห้องครัวจึงเป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วนที่ไม่ควรมองข้ามค่ะ

อุปกรณ์ตัวช่วยที่แนะนำ
“ช่องร้อยสายไฟ” พลาสติกเกลียวที่จะช่วยพันรวบสายไฟหลากหลายเส้นให้รวมอยู่ในกลุ่มเดียวกันอย่างเป็นระเบียบ ทั้งนี้ตัวเกลียวพลาสติกที่พันไว้จะเป็นป้องกันสายไฟไม่ให้สัมผัสกับน้ำ และฝุ่นละอองได้ด้วย

ช่องร้อยสายไฟ สีขาว

.

“ช่องระบายอากาศ และร้อยสายไฟ”
กรณีที่ทำครัวแบบบิ้วอิน และมีการซ่อนเต้าเสียบปลั๊กไฟไว้ในตู้ สามารถติดตั้งเจาะฝังช่องระบายอากาศที่มีรูร้อยสายไฟไว้กับตัวตู้ได้ อุปกรณ์นี้นอกจากจะช่วยระบายอากาศป้องกันกลิ่นอับในตู้แล้ว รูร้อยสายไฟก็เป็นจุดที่เราสามารถซ่อนสายไฟไว้ให้อยู่ในมุมเดียวกันอย่างเป็นระเบียงได้ด้วย

.

ถึงเวลาแล้วที่จะจบความยุ่งเหยิงของสายไฟ ไม่ว่าอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าจะเยอะแค่ไหน ลองใช้อุปกรณ์มาเป็นตัวช่วยให้มุมต่างๆ ดูเรียบร้อยขึ้น เพื่อบรรยากาศที่สบายตา และใช้งานได้แบบไม่มีปัญหากันค่ะ