เป็นปัญหาใหญ่ของหลายๆ คนที่เวลาผ่านไปพบว่าห้องต่างๆ ภายในบ้านมักจะมีข้าวของเครื่องใช้ที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจนยากที่จะจัดวาง ให้เป็นระเบียบ ยิ่งหาอุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ที่เป็นชั้นวางมาเสริมเพิ่มเท่าไร ก็เหมือนจะไม่เพียงพอต่อการจัดเก็บสักที โดยเฉพาะสิ่งของพวกอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องครัว บทความนี้ จะชวนกันมาจัดระเบียบห้องครัวให้เป็นระเบียบสวยงาม แถมหาของง่าย ตอบโจทย์คนยุคใหม่สายสมาร์ท Work From Home (WFH) กันค่ะ
ห้องครัวที่ดีควรให้ความสำคัญกับการจัดการที่ดี โดยจัดสรรพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน และมีแนวทางการจัดระเบียบให้ใช้งานได้สะดวกเหมาะสม โดยคำนึงถึงตำแหน่งที่ตั้งเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานของอุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ง่าย เช่น เตาไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า รวมถึงมีดและของมีคม ฯลฯ อีกทั้งการจัดระเบียบในห้องครัวควรวางแผนให้ง่ายต่อการทำความสะอาดครัวเพื่อสุขอนามัยที่ดี บทความนี้ชวนคุณมารู้แนวทางการจัดห้องครัวง่ายๆ ที่อาจเปลี่ยนสภาพครัวรก ให้กลับมาดูดี มีระเบียบอีกครั้ง ตามขั้นตอนนี้ค่ะ
.
แนวทางการจัดห้องครัว ขั้นตอนที่ 1. การวางแผน และประเมินอุปกรณ์ในห้องครัว
การจัดครัวไทยที่มีเครื่องครัวและวัตถุดิบค่อนข้างมาก เช่น ครก เครื่องแกงต่างๆ โดยเฉพาะหากเป็นการจัดครัวขนาดเล็ก อาจมีความยุ่งยากในการหาพื้นที่เก็บ ดังนั้นคุณควรตั้งคำถามว่าสิ่งไหนที่คุณใช้ และไม่ใช้บ้าง เช่นเครื่องครัวอันไหนที่ไม่ได้ใช้ มีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียไม่สามารถใช้งานได้อยู่หรือเปล่า วัตถุดิบ หรืออาหารสดอันไหนที่ใกล้หมดอายุ หรือพิจารณาว่าอุปกรณ์บางอย่างมีมากเกินไปหรือไม่ เช่นหากอยู่อาศัยคนเดียวแต่มีแก้วน้ำถึง 10 ใบ ก็ควรคัดเลือกออกไปบ้าง
ทั้งหมดที่เราจะทำ เพื่อจะได้วางแผนการจัดระเบียบใหม่ รวมถึงประเมินอุปกรณ์เสริมที่อาจต้องใช้ เพื่อจะได้เพิ่มพื้นที่การจัดเก็บให้เหมาะสม ให้ตอบโจทย์พฤติกรรมการใช้งาน และเพียงพอกับการจัดเก็บอุปกรณ์เครื่องครัวที่มี
.
แนวทางการจัดห้องครัว ขั้นตอนที่ 2. การแบ่งอุปกรณ์ให้เป็นกลุ่มตามประเภท
การแบ่งอุปกรณ์ให้เป็นหมวดหมู่เป็นเทคนิคสำคัญ และจำเป็นมาก ก่อนที่ลงมือจัดเก็บอุปกรณ์ห้องครัว หากไม่ให้เวลากับการแบ่งหมวดหมู่ เชื่อได้เลยว่าอีกไม่นานครัวจะกลับมารกอย่างรวดเร็ว เพราะจะเจอกับปัญหาการหาของไม่เจอ และต่อให้เจอก็มีแนวโน้มใช้แล้วจะไม่มี ที่เก็บเป็นที่เป็นทาง สิ่งของต่างๆ จึงถูกเปลี่ยนที่เก็บไปเรื่อยๆ จนท้ายสุดก็จะพบว่า ห้องครัวเรามีของใช้ระเกะระกะเต็มไปหมดจนเต็มพื้นที่ ยังไม่นับรวมความสกปรกจากการเข้าถึงพื้นที่เพื่อเช็ดทำความสะอาดได้ยากอีกด้วย ดังนั้นหลังจากเคลียร์ของที่เกินจำเป็นออกจากห้องครัวไปได้แล้ว ก็เริ่มจัดหมวดหมู่โดยนำของออกมา และวางรวมเป็นกลุ่มๆไว้ เพื่อประเมินพื้นที่ ที่ต้องใช้จัดเก็บ และจะได้ถือโอกาสทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ อีกครั้งก่อนจัดเก็บ หลักๆ กลุ่มอุปกรณ์จะแบ่งเป็นประเภท เช่น
- หม้อ และกระทะ ควรวางไว้ในพื้นที่ๆ ใกล้เตาแก๊สเพื่อสะดวกในการหยิบใช้
- จาน ชาม ช้อนซ่อม มีด ตะเกียบ ควรเก็บไว้ในที่เดียวกัน โดยหาอุปกรณ์ ถาดแยกช้อนส้อม มาใส่ไว้ในลิ้นชัก
- ถาด โถ ครก อุปกรณ์ที่มีชิ้นใหญ่และมีน้ำหนักมาก ไม่ควรจัดวางไว้ในที่สูง
- เครื่องปรุงต่างๆ อาจหาชุดตะแกรงลิ้นชักมาติดตั้งเข้าไปในตู้ครัว
- เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องปั่น เครื่องปิ้งขนมปัง กระทะหรือหม้อไฟฟ้า ไม่ควรไว้ที่สูง และอันไหนใช้งานบ่อยอาจวางไว้ด้านหน้าๆ เพื่อจะได้หยิบใช้ง่าย
.
แนวทางการจัดห้องครัวขั้นตอนที่ 3. จัดเก็บของใช้ให้เป็นระเบียบ
เมื่อแบ่งหมวดหมู่เรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มทำการจัดเก็บโดยประเมินพื้นที่ภาพรวมที่มีอยู่ เช่น มีตู้ครัวอยู่กี่จุด (ตู้ใต้เคาน์เตอร์, ตู้ลอยติดผนัง) มีชั้นวางที่เหมาะกับวางอะไรแค่ไหน เพื่อจะได้จัดหา อุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ สำหรับจัดระเบียบ และเพิ่มพื้นที่ในห้องครัวมาติดตั้ง การใช้พื้นที่ส่วนที่ว่างอยู่ให้กลายเป็นที่เก็บของ เช่น อุปกรณ์ตะกร้าตะแกรง อุปกรณ์ชั้นวาง ชุดลิ้นชักอุปกรณ์ ถาดสำหรับจัดระเบียบช้อนส้อม ชุดอุปกรณ์แขวนเครื่องครัว เช่น ตะหลิว ทัพพี ฝาหม้อ ถังขยะซ่อนไว้ใต้ซิงค์ล้างจาน ติดตั้งรางลิ้นชักสำหรับใส่อุปกรณ์ใต้อ่างล้างจาน ติดตั้งตะแกรงเก็บคว่ำจานในเก๊ะลิ้นชัก ฯลฯ อุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยตอบโจทย์การจัดห้องครัวให้กับคนยุคใหม่ที่มองหาความสะดวก ดูดีทันสมัย แถมด้วยฟังก์ชันการใช้งานที่ใช่ด้วยค่ะ
การจัดเก็บของใช้ให้เป็นระเบียบไม่ใช่เรื่องยาก แนะนำให้หลีกเลี่ยงการจัดวางของไปตั้งอยู่ในจุดที่ตามองเห็นได้ง่าย เช่น ไอส์แลนด์ เคาน์เตอร์กลาง (Island คือเคาน์เตอร์ที่ออกแบบมาให้เติมเต็มฟังก์ชั่นห้องครัว เพื่อใช้สำหรับเพิ่มพื้นที่จัดเก็บของในตู้ที่อยู่ด้านล่าง ใช้เป็นส่วนเตรียมอาหารในพื้นที่ด้านบน และยังสามารถใช้เป็นส่วนที่นั่งรับประทานอาหารได้) หรือจุดเตรียมอาหาร เพราะพื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นจุดที่จะทำให้ห้องครัวดูรกได้ง่ายมาก
.
แนวทางการจัดห้องครัวขั้นตอนที่ 4. การจัดเก็บของใช้ชิ้นเล็กๆ หรือของที่ใช้บ่อย
ตะแกรง หรือชั้นวางของในครัว Kitchen Storage เป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์มากๆ อุปกรณ์ครัวชิ้นเล็กๆ ที่ใช้งานเป็นประจำ เราสามารถนำมาจัดวางไว้บนชั้นวางของแต่ต้องแยกประเภทแต่ละชั้นวางให้เรียบร้อย อาหารกระป๋อง ขนม หรือเครื่องปรุงต่างๆ ก็สามารถนำมาจัดเรียงไว้บนชั้นวางได้เช่นกัน โดยหันฉลากวันหมดอายุออกข้างนอกให้เห็นชัดเจน เพื่อให้ง่ายต่อการหยิบใช้ และจำได้ว่าเรายังมีของอะไรอยู่
ข้อแนะนำ : ไม่ควรใช้ชั้นวางแบบพลาสติกเนื่องจากพลาสติกทนทานต่อความร้อนได้น้อย หากเรานำตั้งไว้บริเวณใกล้เตาแก๊สก็อาจจะทำให้ชั้นวางของเกิดความเสียหายได้
.
แนวทางการจัดห้องครัวขั้นตอนที่ 5. การปรับพฤติกรรมใหม่ในการใช้งานห้องครัว
ต่อให้มีเทคนิควิธีการสุดยอดในจัดห้องครัว หรือมีอุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์สำหรับจัดระเบียบ และเพิ่มพื้นที่ใช้สอยในครัวที่ครบครันสมบูรณ์แบบเพียงใด หากผู้ใช้เองไม่ยอมปรับพฤติกรรมการใช้งานบางอย่างที่ทำให้ครัวรก ห้องครัวก็ย่อมกลับมามีปัญหาเดิมอีกอย่างแน่นอน และในทางจิตวิทยา ห้องครัวเป็นสถานที่ ที่เราควรให้ความสำคัญเรื่องความสะอาด เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของเราได้ และบางครั้งห้องครัวที่ไม่สะอาด อาจไม่ได้เกิดจากความเกียจคร้านเพียงอย่างเดียว แต่อาจเป็นสัญญาณเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า หรืออาการทางจิตที่ทำให้คนเราไม่มีกะจิตกะใจที่จะคิดว่า การทำความสะอาดเป็นเรื่องจำเป็น รู้อย่างนี้แล้วมาดูกันว่าพฤติกรรมการใช้ครัวแบบไหนที่มักทำให้ครัวรก เพื่อจะได้ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนความคุ้นชินเดิมใหม่ จะได้มีห้องครัวที่สะอาด ดูดีเป็นระเบียบกันค่ะ
.
เริ่มจัดการจากเรื่องง่ายๆ
- มุมขยะในห้องครัวโดยเฉพาะพวกเศษอาหาร เราควรทิ้งเศษอาหารทุกวัน หากเป็นของสดควรทิ้งขยะไว้นอกบ้าน
- มุมอ่างล้างจาน การล้างจานชามทันทีที่เตรียมอาหาร หรือใช้เสร็จ หลายคนอาจเคยชินกับการล้างจานทีเดียวในตอนเย็น จึงปล่อยจานชามไว้ในอ่างล้างจานจนล้น พฤติกรรมนี้เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ครัวดูรก และสกปรกมาก
- การเก็บของใช้ไว้ที่เดิมเสมอ หากเราจัดหมวดหมู่การเก็บของ และมีอุปกรณ์สำหรับช่วยจัดเก็บแล้ว ก็อย่าลืมปรับพฤติกรรมใหม่ให้เป็นเหมือนกฏว่า ‘หยิบของมาจากตรงไหนให้กลับไปเก็บตรงนั้น’ หากสมาชิกในบ้านปฏิบัติตามกฎนี้จะส่งผลดีอย่างไม่น่าเชื่อเลยหละค่ะ
- เก็บจานจากที่คว่ำจานทุกครั้งเมื่อที่คว่ำจานเต็ม หลายคนชินที่จะเก็บจานต่อเมื่อที่คว่ำจานเต็ม หรือถึงขั้นไม่เก็บจานและเมื่อมีจานที่ล้างใหม่เพิ่มก็วางทับๆ กันไป เพื่อฝึกนิสัยใหม่ให้คุณเก็บจานที่แห้งแล้วทุกครั้งก่อนล้างจานเสมอเพื่อครัวจะได้กลับมาสะอาดดูดี
- เช็ดพื้นผิวโต๊ะ ผนังห้องครัว (ตรงเตาแก๊ส) เคาน์เตอร์ทั้งหมดหลังจากเตรียมอาหารเสร็จ กวาดและถูพื้นให้สะอาดทุกวัน อย่าปล่อยให้ห้องครัวรกหรือสกปรกเพราะมันอาจจะเป็นแหล่งที่อยู่ของแมลงสาบและเชื้อโรคได้
.
สินค้าที่คุณอาจสนใจ
หมวด ‘ชั้นวางของในครัว’
.
หมวด ‘ชั้นเข้ามุม / ชั้นวางเข้ามุม’
.
หมวด ‘ลิ้นชักตู้สูง / ชั้นตู้สูงสำหรับห้องครัว’
.
หมวด ‘ตะแกรงคว่ำจาน’
.
หมวด ‘ถาดใส่ช้อนส้อม’
.
หมวด ‘ถังขยะในห้องครัว’
.
หมวด ‘ซิงค์ล้างจาน / อ่างล้างจาน’
.
หมวด ‘ที่แขวนแก้วไวน์’
.
บทความที่เกี่ยวข้อง
5 ไอเทม จัดห้องครัวขนาดเล็ก
5 แบบห้องครัวยอดนิยม Kitchen Layouts
ตะแกรงคว่ำจาน อุปกรณ์จัดเก็บภายในห้องครัว
อุปกรณ์จัดเก็บภายในห้องครัว
เทคนิค จัดห้องครัวขนาดเล็ก