ประวัติความเป็นมา กุญแจล็อค กุญแจตู้ กุญแจลิ้นชัก กุญแจล็อคเฟอร์นิเจอร์

กุญแจล็อค อุปกรณ์เสริมสำหรับติดตั้งร่วมกับหน้าบานเฟอร์นิเจอร์ ตู้ โต๊ะ ลิ้นชัก หรืออุปกรณ์ที่มีหน้าบานเปิด-ปิดที่ต้องการกุญแจไว้ล็อค เพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สินที่จัดเก็บอยู่ภายใน และช่วยป้องกันการเปิดหน้าบานจากแรงลม แรงกระแทก หรือแรงอื่นๆ สามารถประยุกต์ติดตั้งกับการใช้งานได้หลากหลายตามความเหมาะสม และยังช่วยเติมเต็มความสมบูรณ์แบบให้กับเฟอร์นิเจอร์ได้อย่างครบครัน

กุญแจล็อค เป็นอุปกรณ์ที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน เป็นหนึ่งสิ่งประดิษฐ์ที่ยืนยันถึงวิวัฒนาการ และความชาญฉลาดของมนุษย์รุ่นก่อนหน้ามาถึงปัจจุบัน บทความนี้จึงอยากจะชวนมาอ่านเรื่องราวที่มาของกุญแจล็อค และระบบกลไกต่างๆ ว่ามีที่มาที่น่าสนใจอย่างไร ไปอ่านกันดูค่ะ

.

อันที่จริงหากจะพูดถึงจุดเริ่มต้นของอุปกรณ์ชิ้นนี้ นักประวัติศาสตร์เองก็ไม่แน่ใจว่า ต้นกำเนิดของกุญแจล็อคที่แท้จริงนั้นเริ่มต้นที่ไหน แต่มีข้อสันนิษฐานว่า กุญแจกลไกลูกแรกนั้น น่าจะทำด้วยไม้เพราะในเวลานั้นมีการค้นพบกุญแจไม้ที่มีรูปลักษณะต่างกันออกไปในหลายพื้นที่ เช่น จีน เปอร์เซีย อียิปต์ แอสซีเรีย (Assyria) กรีก และโรมัน และจากหลักฐานบนภาพวาดเฟรสโกในวิหารอียิปต์โบราณแสดงให้เห็นว่ากุญแจไม้ถูกใช้มาตั้งแต่ 4,000 ปีก่อน

ว่ากันว่า ระบบกุญแจล็อค มีการเริ่มต้นพัฒนาให้เป็นแบบสมัยใหม่อย่างจริงจังในปี 1778 ในประเทศอังกฤษ โดย โรเบิร์ต บาร์รอน (Robert Barron) ได้ประดิษฐ์ระบบกุญแจที่เป็นกุญแจสำหรับล็อกบ้านแบบ Lever Tumbler Lock ซึ่งถือเป็นกุญแจที่คิดค้นออกมาเพื่อความปลอดภัยอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ หลังจากการบุกเบิกของบาร์รอน ก็มีนักประดิษฐ์หลากหลายท่านที่ได้พยายามคิดค้นพัฒนาระบบล็อค แต่แล้ว ในปี 1844 ไลนัส เยล (Linus Yale) ก็ได้ประดิษฐ์กุญแจระบบไส้พินโลหะ (Pin-tumbler Cylinder Lock) ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ในวงการ
โดยสิ่งประดิษฐ์กุญแจระบบไส้พินโลหะนั้น มีลักษณะพื้นฐานแบบเดียวกันกับระบบกุญแจของอียิปต์ยุคแรกๆ คือระบบกุญแจแบบพิน (Pin Lock) โดยจะมีพินไม้ซึ่งจะตกลงมาในรูบนไม้ขัดแตะประตูตามแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้ไม้ขัดแตะเลื่อนไม่ได้ ส่วนลูกกุญแจจะมีแท่งไม้ที่มีความยาวพอดีกับการยกพินไม้ในรูบนขัดแตะประตู ซึ่งความยาวของแท่งไม้คือตัวแปรสำคัญในการปลดกุญแจ ด้วยการใช้ลูกกุญแจ (แท่งไม้) ใส่เข้าไปในรู และสลักจะถูกดันในระยะที่พอดี ทำให้สามารถเลื่อนขัดแตะประตูออกได้

ระบบกุญแจแบบพิน Pin Lock ได้กลายมาเป็นระบบที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นบรรพบุรุษ หรือต้นแบบของกุญแจล็อคระบบพินที่ใช้กันในทุกวันนี้ และในเวลาต่อมามีการพัฒนาวัสดุในการผลิตกุญแจขึ้นใหม่โดยทำด้วยทองเหลือง หรือเหล็ก ในอียิปต์โบราณมีการค้นพบกุญแจที่ทำจากโลหะซึ่งว่ากันว่าในยุคนั้น กุญแจได้ถูกใช้เป็นเครื่องแสดงสถานะทางสังคมอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ยังพบว่ามีการประดับด้วยการฝังมุก ทอง และเงินบนกุญแจในซากของเมืองปอมเปอี (Pompeii) อีกด้วย

จากหลักฐานพบว่าชาวโรมันโบราณได้พัฒนาระบบกุญแจให้ดีขึ้นอีก โดยรวมระบบกุญแจของอียิปต์ และกรีกเข้าด้วยกัน และยังคิดค้นกลไกกุญแจล็อกบ้านที่ติดตั้งด้านในประตู แต่สามารถไขกุญแจจากด้านนอกของประตูผ่านรูกุญแจได้ และชาวโรมันถูกถือว่าเป็นชนชาติที่ทำให้กุญแจได้กลายเป็นที่รู้จัก และนิยมในยุคนั้นเพราะทำให้เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้จริง พกพาง่าย นอกจากนี้ช่างกุญแจสมัยนั้นก็ยังคิดค้นการทำให้ลูกกุญแจล็อคบ้านมีขนาดเล็กลง ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกันกับช่างกุญแจในปัจจุบันทำกัน

หลังจากอาณาจักรโรมันเสื่อมลง เริ่มเข้าสู่ยุคกลาง นับเป็นยุคทองของช่างกุญแจ เพราะเป็นช่วงที่มีการว่าจ้างช่างกุญแจสร้างกุญแจสำหรับป้องกันสิ่งของมีค่าของปราสาท ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นกลไกเท่านั้น แต่ยังมีความสวยงามในเชิงศิลปะอีกด้วย หากนับประวัติศาสตร์จากยุคกลางจนมาถึงยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance) ในแง่กลไกของกุญแจไม่มีการพัฒนาปรับปรุงมากนัก จะมีเพิ่มเติมก็เพียงลูกเล่น และการเล่นลวดลายของกุญแจ

ย้อนกลับมาที่ช่วงเวลา หลังจาก โรเบิร์ต บาร์รอน (Robert Barron) นักประดิษฐ์ชาวอังกฤษที่ได้เริ่มต้นบุกเบิกพัฒนาระบบกุญแจสมัยใหม่ให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังในปี 1778 หลังจากการคิดค้นระบบกุญแจกุญแจล็อกบ้านแบบ Lever Tumbler Lock ที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นกุญแจเพื่อความปลอดภัยอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก เขาก็ได้มีความพยายามครั้งสำคัญในการปรับปรุงความปลอดภัยให้กับกุญแจล็อคด้วยการคิดค้น ระบบล็อคแบบเกลียวแบบ Double-Acting และหลังจากนั้นก็มีนักประดิษฐ์ที่ต่อยอดสร้างผลงานระบบล็อคที่เป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่เกิดขึ้นมากมาย เช่น

  • ไลนัส เยล (Linus Yale) ได้ประดิษฐ์กุญแจหมุดล็อคขึ้นในปี ค.ศ. 1848 ซึ่งเป็นกลไกระบบไส้พินโลหะ (Pin-Tumbler Cylinder Lock) โดยมีลักษณะพื้นฐานแบบเดียวกันกับระบบกุญแจของอียิปต์ยุคแรกๆ และลูกชายของเขา ไลนัส เยล จูเนียร์ (Linus Yale junior) ก็ได้พัฒนาต่อด้วยกลไกที่ทำการล็อคโดยใช้แป้นแบนขนาดเล็ก (ทำให้ลูกกุญแจแบน และเล็ก) โดยมีขอบหยักซึ่งเป็นพื้นฐานของระบบกุญแจแบบพินโลหะสมัยใหม่ (Modern Pin-Tumbler Locks) ในปัจจุบัน
  • เจมส์ ซาร์เจนท์ (James Sargent Russell) ในปี 1857 ได้ประดิษฐ์คิดค้นระบบกุญแจแบบรวม (Combination Lock) ซึ่งเป็นกุญแจล็อคที่สามารถเปลี่ยนคีย์ได้เป็นผลสำเร็จครั้งแรกของโลก ผลงานการคิดค้นกุญแจล็อคบ้านของเขาได้รับความนิยมจากบรรดาผู้ผลิตตู้นิรภัย และกระทรวงการคลังของสหรัฐอเมริกา ปี 1862 ซาร์เจนท์ได้จดสิทธิบัตรกลไกการล็อกเวลาซึ่งกลายเป็นต้นแบบสำหรับผู้ที่ใช้ในห้องใต้ดินของธนาคารร่วมสมัย
  • ไลนัส เยล จูเนียร์ (Linus Yale Jr.) ซึ่งเป็นวิศวกรเครื่องกล เป็นผู้ผลิตกุญแจระบบพิณ และได้จดสิทธิบัตรไส้กุญแจระบบพินโลหะ (Cylinder Pin-Tumbler Lock) ในปีพ. ศ. 2404 และเขาก็ได้คิดค้นระบบล็อคแบบผสมผสานสมัยใหม่ในปี 1862
  • ซามูเอล ซีกัล (Samuel Segal) ประดิษฐ์กุญแจจิมมีปรู๊ฟล็อคอันแรก (Jimmy Proof Lock) ในปี 1916 ซึ่งซีกัล ถือสิทธิบัตรอยู่ 25 ปี
  • แฮร์รี่ โซเรฟ (Harry Soref) ทำกุญแจสายยู (Padlock) ซึ่งทั้งแข็งแรงและง่ายต่อการใช้ โดยโครงสร้างของกุญแจทำด้วยแผ่นโลหะ และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Master Lock ในปีพ.ศ. 2464 และทำการจดสิทธิบัตร กุญแจผีที่แข็งแรงโดยใช้เหล็กเคลือบ และราคาถูก เพื่อใช้กรณีไขกุญแจประตูห้องใต้ดินของธนาคารที่สร้างขึ้นจากชั้นโลหะ

แนวโน้มของอุปกรณ์กุญแจล็อคในปัจจุบันมีการพัฒนาการใช้งานได้สมบูรณ์แบบมาก มีระบบกุญแจล็อคหลากหลายแบบมากขึ้น และได้ใช้ระบบอุตสาหกรรมในการผลิตเพื่อจะได้จำนวนที่มากพอที่จะตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งาน แต่อย่างไรก็ตามการออกแบบกุญแจล็อคก็ยังคงเน้นหลักการใช้งานที่ดี มีความปลอดภัยความแน่นหนาเป็นสำคัญ และยังมีเรื่องของความสวยงามที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีตัวเลือกที่หลากหลายในการใช้ประโยชน์ พร้อมสามารถใช้เป็นตกแต่งวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ให้สมบูรณ์แบบได้อีกด้วย

กุญแจล๊อคที่ใช้กับเฟอร์นิเจอร์ในปัจจุบัน

  • ลิ้นชัก
    – กุญแจล็อคลิ้นชัก บานเปิดเดี่ยว No.4001
    – กุญแจล็อคตลอดด้านหน้า ใช้ติดตั้งกับรางลิ้นชัก No.4004-T-22

.

  • ตู้กระจกบานเลื่อน
    – กุญแจล็อคบานเลื่อน No.4002-604-22
    – กุญแจล็อคบานสไลด์ No. 4010-605
    – กุญแจล็อคตลอดด้านข้าง ใช้ติดตั้งเข้ากับแผงข้าง/หน้าประตู No.4003-T-22
    – กุญแจล็อคกระจกบานเปิดคู่ แบบหนีบ No.4007-E248
    – กุญแจล็อคฟันปลา Royal No. 4005-505
    – กุญแจล็อคกระจกบานเปิดคู่ แบบเจาะ No. 4012-T-16

.

.

  • ตู้กระจกบานเปิด
    – กุญแจล็อคกระจก บานเปิดเดี่ยวหนีบ No. 4006-E238
    – กุญแจล็อคกระจก บานเปิดเดี่ยวข้าง สีเงิน No. 4012-t-16

.

  • ตู้เสื้อผ้า/ตู้ไม้บานเปิด
    – กุญแจล็อคบานเปิดเดี่ยว No. 4001-749-ZI

.

  • ตู้บานเลื่อนไม้
    – กุญแจล็อคบานเลื่อนไม้ No. 4002-T-19
    – กุญแจล็อคขอสับ No. 4016-611

.

  • หน้าต่างบานเลื่อน
    – อุปกรณ์เสริม Cyber Lock ตัวช่วยล็อค 2 ชั้น สำหรับหน้าต่างบานเลื่อน
    – อุปกรณ์เสริมล็อคหน้าต่าง Slim Lock สำหรับติดตั้งขอบบานเลื่อน

.

  • ประตูบานเลื่อน
    – กุญแจคอม้าใหญ่ No. 4041-024

.

การเลือกใช้กุญแจล็อค นอกจากจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานแล้ว ควรเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพ มีความแข็งแรง และทนทานต่อการใช้งาน คือใช้งานง่าย ล็อกแน่น ไม่ฝืดเมื่อใช้งาน แนะนำเลือกวัสดุประเภทสเตนเลส ซึ่งมีข้อดีคือ ไม่เป็นสนิม แข็งแรง ทนทาน เช็ดทำความสะอาดง่าย หรือซิงค์อัลลอยด์ ก็เป็นวัสดุที่มีความแข็งแรง ทนทานใช้งานได้ดีเช่นกัน สุดท้ายอย่าลืมดูในเรื่องของขนาดที่มีความเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการเลือกใช้กุญแจล็อคแบบเจาะฝัง และในการติดตั้งอย่าลืมวัดระยะให้เหมาะสมแม่นยำก่อน เพื่อประสิทธิภาพการใช้งานล็อคได้อย่างดี และปลอดภัยนะคะ