Tag Archives: ความเป็นมาของฮวงจุ้ยบ้านอยู่อาศัย

ความเป็นมาของฮวงจุ้ยบ้านอยู่อาศัย

ว่ากันว่าวิชาฮวงจุ้ยบ้านอยู่อาศัยของผู้คนนั้นมันค่อยๆ แยกตัวจากฮวงจุ้ยสุสานในสมัยราชวงศ์ชิง ตั้งแต่ยุคจักรพรรดิ์คังซี-เฉียนหลง เป็นต้นมา มีการนำแนวคิดเรื่องมังกรน้ำของหยางกงเป็นรากฐาน (‘หยางกง’ คือ บูรพาจารย์ฮวงจุ้ยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีน) หลักเล้งซัวเหี่ยงจุ้ย คือวิชาฮวงจุ้ยชั้นสูงที่ว่าด้วยภาคชัยภูมิภายนอกโดยรอบพื้นที่ของที่อยู่อาศัย โดยหลักนี้จะดูองค์ประกอยที่เป็นการเพิ่มตำแหน่ง ขับดันที่ถูกต้อง และดีที่สุด (เล้ง=มังกร) รวมทั้งให้ความสำคัญว่าต้องมีพื้นที่รองรับโชคลาภ มีกำไรมาก (จุ้ย=น้ำ) หรือพูดให้เห็นภาพคือ ดูฮวงจุ้ยความสัมพันธ์ระหว่างมังกร-ภูเขา-ทิศหน้าบ้าน-ปากแม่น้ำ ที่เปิดรับพลังชี่ให้เข้ามาสัมพันธ์กับทิศดาวเหนือทั้ง 9 ที่เป็นชี่ในลักษณ์ . แต่เดิมซินแสสายวิศวกร ซึ่งมักมีความรู้ด้านสถาปนิก และการแพทย์อยู่ด้วยกัน จะใช้ศาสตร์ฮวงจุ้ยที่เน้นไปที่รูปลักษณ์ของผืนดินที่เป็นลักษณะภูเขา มีทางน้ำ และดูจุดรับพลังที่รับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ต่อมาซินแสสายนักบวชเต๋า หรือซินแสสายวิศวกรที่ไปเรียนรู้วิชาเต๋า ก็ได้มีการนำวิชาพยากรณ์เรื่องการย้ายกว้า  (“กว้า” 卦คือ สัญลักษณ์ ที่เป็นเส้นขีดๆ โดยทั่วไปจะมี 3 เส้น เส้นที่อยู่ใน กว้า เราจะเรียกว่า เหยา (爻, yáo) ดังนั้นกว้าโดยปกติจะมี 3 เหยา ซึ่งเหยานี้สามารถเป็นได้ทั้งเส้นเต็ม และเส้นขาด และซินแสจะใช้เส้นเต็มเป็นตัวแทนของหยาง เส้นขาดเป็นตัวแทนของหยิน และด้วยการที่มี 3 เส้น ทำให้มันสามารถมีได้ 8 รูปแบบ เราจึงนิยมเรียกกว้า 3 เส้นนี้ว่า ปากว้า (八卦) หรือ 8 กว้า [八แปลว่า 8] หรือที่คนไทยจะอ่านสำเนียงออกเป็นคำว่า […]