5 ประเภทประตู และคุณสมบัติในการใช้งาน

ประตูเป็นสถาปัตยกรรมชนิดหนึ่งที่มีมาอย่างยาวนาน และมีวิวัฒนาการรูปแบบที่หลากหลาย เราหลายคนเข้าใจถึงประโยชน์ และความสำคัญของประตูในมุมมองของการใช้งาน แต่ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไปประตูได้ถูกนำมาใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในแง่ของการดีไซน์

มันเป็นตัวช่วยเชื่อมบรรยากาศ และความรู้สึกระหว่าง 2 พื้นที่ ซึ่งวัสดุ สีสัน ที่มาใช้เป็นองค์ประกอบประตูก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สะท้อนถึงสไตล์ อย่างไรก็ตามรูปแบบของประตูถูกกำหนดให้อยู่ภายใต้กลไกของอุปกรณ์ที่เลือกใช้ ที่จะทำให้ลักษณะการใช้งานของประตูมีความแตกต่างกัน บทความนี้ฟิวเจอร์เทคฯ จะชวนคุณมาดู 5 ประเภทประตู และคุณสมบัติในการใช้งาน เพื่อจะได้เลือกใช้ให้ตอบโจทย์กับกับสไตล์ และรูปแบบการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะมีประเภทใดบ้างไปติดตามอ่านกันเลยค่ะ

1. ประตูบานเปิด (Swing Door)

       ประตูบานเปิด ตัวหน้าบานมีวัสดุให้เลือกใช้ได้หลากหลาย เช่น ไม้จริง ไม้เทียม อลูมิเนียม สแตนเลส เหล็ก กระจกอลูมิเนียม

คุณลักษณะที่น่าสนใจของประตูบานเปิด (Swing Door) :

                   ประตูบานเปิด เป็นประตูที่ได้รับความนิยมในทุกสังคม เนื่องจากการเปิด-ปิดประตูด้วยวิธีผลัก หรือดึงนั้น มันเป็นเซ้นต์พื้นฐานในการ

                   เข้า-ออกของมนุษย์ ทั้งนี้ประตูบานเปิดจะแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • ประตูบานเปิดเดี่ยว – มีบานประตู จำนวน 1 บาน
  • ประตูบานเปิดคู่ – มีบานประตู จำนวน 2 บาน

การเลือกใช้งาน :

      การใช้งานประตูบานเปิดเดี่ยว หรือบานเปิดคู่ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ขนาดพื้นที่รวมถึงประเภทห้อง หรือประเภทอาคาร แต่ทั้งนี้ประตูบานเปิดไม่ว่าจะเป็นบานเปิดเดี่ยว หรือบานเปิดคู่ ก็สามารถเลือกได้ว่าจะให้เปิด 90 องศา หรือ 180 องศา ซึ่งเราสามารถเลือกฟังก์ชันการใช้งานจากตัวอุปกรณ์บานพับของประตู

2. ประตูบานสวิง (Swing Bi-fold Door)

     กรอบของประตูบานสวิงส่วนใหญ่นิยมผลิตจากอลูมิเนียม หรือสแตนเลส เนื่องจากสะดวกต่อการขึ้นรูปกรอบลูกฟัก ประตูบานสวิงส่วนใหญ่ผลิตจากอลูมิเนียม หรือสแตนเลส ประตูบานสวิงบางแบบก็มีกระจกอยู่ภายในกรอบลูกฟัก

คุณลักษณะที่น่าสนใจของประตูบานสวิง (Swing Bi-Fold Door) :

     บริเวณกรอบบานประตูสวิงจะมีอุปกรณ์สวิงยึดกับพื้นด้านล่าง และวงกบประตู ทำให้สามารถผลักเปิดได้ทั้งสองทาง ตัวบานของประตูบานสวิงส่วนใหญ่ถูกแบ่งเป็นสองบาน จึงทำให้ประหยัดพื้นที่ของระยะเปิดเมื่อผลักเข้า-ออกมากกว่าประตูบานเปิดแบบเดี่ยว

การเลือกใช้งาน :

ประตูบานสวิงเปิดด้วยการผลัก สามารถผลักเพื่อเข้า-ออกได้ทั้งสองทาง

3. ประตูบานเฟี๊ยม (Accordian Door)

       กรอบประตูบานเฟี้ยมผลิตจากวัสดุหลากหลาย ได้แก่ ไม้จริง ไม้เทียม อลูมิเนียม สแตนเลส เหล็ก บานประตูบางรูปแบบใช้กระจกบางรูปแบบใช้วัสดุเดียวกับกรอบประตู

       คุณลักษณะที่น่าสนใจของประตูบานเฟี๊ยม (Accordian Door)

       ประตูบานเฟี้ยม คือประตูที่ประกอบด้วยบานประตูหลายบานมาต่อกันด้วยบานพับ มีลักษณะการเปิด-ปิดแบบทบสลับกันซึ่งเป็นเอกลักษณ์อันมีเสน่ห์ของประตูบานเฟี้ยม ข้อแนะนำในการติดตั้งประตูบานเฟี้ยมคือ ควรยึดบานประตูแต่ละบานเข้ากับรางบนเหนือบานและ รางล่างบริเวณพื้น เพื่อป้องกันหน้าบานแกว่ง

การใช้งาน :

การเปิด-ปิดประตูบานเฟี้ยมสามารถออกแบบให้ทบสลับกันไปรวมที่ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน ทำให้ช่องเปิดกว้างกว่าประตูประเภทอื่น

.

4. ประตูบานหมุน (Pivot Door)

     กรอบประตูบานหมุนส่วนใหญ่ผลิตจากวัสดุหลากหลาย ได้แก่ อลูมิเนียม สแตนเลส เหล็ก เนื่องจากสะดวกต่อการติดตั้งจุดหมุน  บริเวณกลางบาน ตัวบานของประตูบานหมุนส่วนใหญ่จะใช้กระจกหรือเหล็กเส้นออกแบบลวดลายได้หลากหลายรูปแบบ

คุณลักษณะที่น่าสนใจของประตูบานหมุน (Pivot Door) :

      ประตูบานหมุน คือประตูที่ติดตั้งจุดหมุนไว้กลางบานและติดตั้งโช๊คอัพแบบฝังพื้น (Floor Spring) แบบตั้งค้าง 90 องศา แต่หมุนได้รอบ 360 องศาเพื่อสะดวกต่อการใช้งาน ประตูบานหมุนนิยมติดตั้งต่อกันหลายบาน หากต้องการใช้บานประตูเพียงบานเดียว ควรกำหนดระยะเปิดให้สามารถผ่านเข้า-ออกได้สะดวก ซึ่งต้องมีการคำนวณระยะระหว่างจุดหมุนและหน้าบานให้สมดุลและติดตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญ

การใช้งาน :

ประตูบานหมุนเปิดด้วยการผลัก บานประตูจะหมุนได้ 360 องศา แต่ค้างได้เพียง 90 องศา จึงเหลือช่องประตูที่สามารถใช้งานเข้า-ออกได้เพียงครึ่งประตู

.

5. ประตูบานเลื่อน (Sliding Door)

    ประตูบานเลื่อนผลิตจากวัสดุอันหลากหลาย ได้แก่ ไม้จริง ไม้เทียม อลูมิเนียม สแตนเลส เหล็ก กระจก

    คุณลักษณะที่น่าสนใจของประตูบานเลื่อน (Sliding Door) :

      ประตูบานเลื่อน คือประตูที่เปิด-ปิดด้วยการเลื่อนออกด้านข้าง เป็นประตูที่ต้องมีชุดอุปกรณ์ในการทำ คือรางเลื่อนอลูมิเนียมมีทั้งแบบรางเลื่อนบน และรางเลื่อนล่าง ซึ่งความแตกต่างอยู่ตรงที่ประตูบานเลื่อนแบบรางเลื่อนล่างจะมีราคาค่าวัสดุ และค่าการติดตั้งถูกกว่าและซ่อมแซมง่ายกว่าประตูบานเลื่อนแบบรางเลื่อนบน แต่รางเลื่อนที่อยู่บนพื้นก็อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเดินสะดุดบริเวณราง และในด้านความงามก็อาจทำให้มองดูแล้วขาดความต่อเนื่องของพื้นห้อง ในส่วนของประตูบานเลื่อนแบบรางเลื่อนบน หรือรางแขวน ตัวรับน้ำหนักของมันคือส่วนของรางด้านบนที่ใช้สำหรับแขวนบานประตู ซึ่งการเลือกใช้อุปกรณ์ต้องคำนวณน้ำหนัก และการยึดบานประตูเข้ากับรางโดยช่างผู้เชี่ยวชาญก่อน ในด้านความงามของประตูบานเลื่อนแบบรางเลื่อนบนหรือรางแขวน มีความสวยงามกว่า เพราะไม่มีอะไรมากีดขวางพื้นจึงช่วยให้ห้องทั้งหมดมีความต่อเนื่องกัน

การใช้งาน :

        ประตูบานเลื่อนเปิดด้วยการเลื่อนบานประตูสู่ด้านข้าง ซึ่งทิศทางการเลื่อนเพื่อเปิด-ปิดประตูมีหลายแบบ ได้แก่

  • ประตูบานเลื่อนเดี่ยว สามารถเลื่อนบานประตูออกเพียงด้านเดียว
  • ประตูบานเลื่อนคู่ สามารถเลื่อนบานประตูออกทั้งด้านซ้ายและด้านขวา จึงมีช่องเข้า-ออกที่กว้างกว่าประตูบานเลื่อนเดี่ยว
  • ประตูบานเลื่อนสลับ จะมีสองบาน ซึ่งทั้งสองบานสามารถเปิดใช้งานได้ทั้งด้านซ้าย และด้านขวาสลับกัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *