ห้องครัว ถือเป็นอีกหนึ่งห้องที่คุณแม่บ้าน และคุณพ่อบ้านหลายๆ บ้านให้ความใส่ใจ และพิถีพิถัน ในการออกแบบ และตกแต่ง ถ้าไม่นับไอเดียการตกแต่งที่มีองค์ประกอบความเชื่อเกี่ยวกับฮวงจุ้ยแล้วหละก็ ในมุมของการตกแต่งพื้นฐานของหลายๆ คนก็มักจะให้ความสำคัญกับพื้นที่ ใช้สอย และประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานเพื่อจะทำให้ห้องครัวเป็นพื้นที่ที่สามารถสร้างสรรค์ทุกเมนูอร่อยให้กับทุกคนในครอบครัวได้ และเรื่องของฟังก์ชันจึงกลายมาเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะใส่ใจ ในบทความนี้ฟิวเจอร์เทคฯ ขอนำเสนอ 7 ไอเทม สำหรับแต่งชุดห้องครัวให้ครบทุกฟังก์ชันด้วยอุปกรณ์จัดเก็บภายใน และลิ้นชัก หลักๆ จะเป็นเรื่องของการแนะนำตัวอุปกรณ์ตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ในห้องครัว ที่สามารถใช้ติดตั้งเสริม หรือนำไปจัดวางไว้ในตำแหน่งต่างๆ ของชุดห้องครัวเพิ่ม เพื่อทำให้ห้องครัวเก่า หรือห้องครัวใหม่มีครบทุกฟังก์ชันตอบโจทย์ความต้องการครบมากที่สุดเท่าที่จะมากได้กันนะค่ะ . 7 ไอเทมที่จะช่วยทำให้ชุดครัวของบ้านคุณดูสวยทันสมัยไม่มีเอาท์จะมีอะไรบ้าง เราไปดูกันเลยค่ะ ไอเทมที่ 1. ถาดใส่ช้อนส้อม ตัวช่วยในการจัดเก็บของใช้ชิ้นเล็กๆ ในครัวให้เป็นระเบียบ และใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ลองนึกภาพดูนะคะว่า..คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการที่เราสามารถหาช้อนส้อม หรือหยิบตะเกียบที่เข้าคู่กัน ซึ่งมันถูกเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบอยู่ในถาดใส่ช้อนส้อมของลิ้นชักในครัว . ไอเทมที่ 2. ที่แบ่งช่องลิ้นชัก ใน 1 ลิ้นชัก เราก็สามารถที่จะทำให้กลายเป็นพื้นที่เก็บอุปกรณ์หลายอย่างได้ เช่นหากคุณมีถาดวางช้อนส้อมอยู่ และอยากจะมีโซนพื้นที่เพื่อเก็บอุปกรณ์ เช่น ทัพพี ตะหลิว มีด ที่ปอกผลไม้ ฯลฯ ก็สามารถใช้ที่แบ่งช่องลิ้นชักมาเป็นตัวแยกกลุ่มของอุปกรณ์ได้เช่นกัน . ไอเทมที่ 3. ถังขยะเข้าชุดครัว ความสะอาด และความเป็นระเบียบสำคัญมากสำหรับห้องครัว ถังขยะเป็นอีก […]
Category Archives: อุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์
บ้านส่วนใหญ่ใช้พื้นที่บริเวณผนังออกแบบตกแต่งโดยติดตั้งตู้แขวนเข้าไป เพื่อให้เกิดความสวยงาม และยังใช้ประโยชน์ ไปในตัว เพราะมันสามารถเพิ่มพื้นที่จัดเก็บข้าวของ เครื่องใช้ ทำบ้านให้ดูเป็นระเบียบ สะอาดตาได้โดยที่ไม่กินพื้นที่ได้มากทีเดียว นอกเหนือจากดีไซน์ของตู้ที่จะเลือกใช้ตามชอบแล้ว ยังอยากให้คุณใส่ใจในเรื่องความสะดวก ฟังก์ชันการใช้งานเปิด-ปิด เพราะความสำคัญของตู้ที่มีตำแหน่งติดตั้งอยู่บนผนังซึ่งเป็นระยะการใช้งานจากที่สูงนั้น ความสามารถมองหา หรือหยิบจับหาสิ่งของได้อย่างสะดวกสบายเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึง เราควรเลือกสรรรูปแบบการเปิด-ปิดของตู้ให้ดี และในบทความนี้ฟิวเจอร์เทค ฯ จะมาแนะนำฟังก์ชันรูปแบบการเปิด-ปิดบานตู้ เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งาน และตรงใจไปได้นาน ๆ ไปติดตามอ่านกันได้เลยค่ะ ฟังก์ชันรูปแบบการเปิด-ปิดหน้าบานตู้ประเภทต่าง ๆ ฟังก์ชันที่ 1. แบบบานเลื่อน ข้อดีของบานตู้แบบเลื่อนคือ สามารถเปิดใช้งานได้ในพื้นที่ที่จำกัด คือไม่ต้องใช้ระยะพื้นที่ในการเปิดหน้าบานให้กว้างออก ด้วยเหตุนี้เราจึง จะเห็นว่าตามคอนโดมิเนียม ตามหอพัก และตามห้องพักขนาดเล็ก จะนิยมใช้บานเปิดแบบนี้ นอกจากนี้ เรายังสามารถเพิ่มฟังก์ชันเสริมอย่างการใส่บานกระจก หรือบานกระจกเงาเฟรมอลูมิเนียมเป็นหน้าบานตู้ ซึ่งเป็นดีไซน์ และสไตล์ที่จะช่วยเพิ่มความสวยงาม แถมพื้นที่ยังดูโปร่งโล่งมากขึ้นด้วย . ฟังก์ชันที่ 2. แบบกดกระเด้ง Push to Open ฟังก์ชันการทำหน้าบานตู้ที่มีลักษณะการเปิดแบบกดกระเด้งไร้มือจับ เป็นอีกหนึ่งหน้าบานที่นิยมมากทีเดียว เพราะเปิด-ปิดง่ายโดยใช้แรงกด ที่หน้าบานตู้ ซึ่งหน้าบานจะแง้มขึ้นก่อนสอดมือเปิดอีกครั้ง ฟังก์ชันนี้ไม่แนะนำให้ใช้กับตู้ที่ติดตั้งตำแหน่งสูงมากนัก เพราะการใช้แรงเอื้อมกดเปิดในแนวดิ่งเป็นลักษณะท่าทางการใช้งานที่ไม่สะดวกมาก . ฟังก์ชันที่ 3. แบบยกเปิด-ปิด ด้วยระบบสปริง ตู้ประเภทนี้จะมีลักษณะการเปิดด้วยการแกว่งขึ้นด้านบน เหมาะสำหรับตู้ขนาดใหญ่ โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าบานพับที่มีสปริงในตัว […]
ประตูเป็นสถาปัตยกรรมชนิดหนึ่งที่มีมาอย่างยาวนาน และมีวิวัฒนาการรูปแบบที่หลากหลาย เราหลายคนเข้าใจถึงประโยชน์ และความสำคัญของประตูในมุมมองของการใช้งาน แต่ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไปประตูได้ถูกนำมาใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในแง่ของการดีไซน์ มันเป็นตัวช่วยเชื่อมบรรยากาศ และความรู้สึกระหว่าง 2 พื้นที่ ซึ่งวัสดุ สีสัน ที่มาใช้เป็นองค์ประกอบประตูก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สะท้อนถึงสไตล์ อย่างไรก็ตามรูปแบบของประตูถูกกำหนดให้อยู่ภายใต้กลไกของอุปกรณ์ที่เลือกใช้ ที่จะทำให้ลักษณะการใช้งานของประตูมีความแตกต่างกัน บทความนี้ฟิวเจอร์เทคฯ จะชวนคุณมาดู 5 ประเภทประตู และคุณสมบัติในการใช้งาน เพื่อจะได้เลือกใช้ให้ตอบโจทย์กับกับสไตล์ และรูปแบบการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะมีประเภทใดบ้างไปติดตามอ่านกันเลยค่ะ 1. ประตูบานเปิด (Swing Door) ประตูบานเปิด ตัวหน้าบานมีวัสดุให้เลือกใช้ได้หลากหลาย เช่น ไม้จริง ไม้เทียม อลูมิเนียม สแตนเลส เหล็ก กระจกอลูมิเนียม คุณลักษณะที่น่าสนใจของประตูบานเปิด (Swing Door) : ประตูบานเปิด เป็นประตูที่ได้รับความนิยมในทุกสังคม เนื่องจากการเปิด-ปิดประตูด้วยวิธีผลัก หรือดึงนั้น มันเป็นเซ้นต์พื้นฐานในการ เข้า-ออกของมนุษย์ ทั้งนี้ประตูบานเปิดจะแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การเลือกใช้งาน : การใช้งานประตูบานเปิดเดี่ยว หรือบานเปิดคู่ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ขนาดพื้นที่รวมถึงประเภทห้อง หรือประเภทอาคาร แต่ทั้งนี้ประตูบานเปิดไม่ว่าจะเป็นบานเปิดเดี่ยว […]
“โช้คอัพบานเปิดขึ้น-ลง สำหรับเปิดฝาตู้ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยผ่อนแรงในการยกเปิด-ปิดตู้ ที่สามารถติดตั้งได้กับตู้เฟอร์นิเจอร์ทุกประเภท” โช้คอัพหน้าบานตู้ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยผ่อนแรงในการเปิด และชะลอการปิดของหน้าบาน โดยทำหน้าที่กำหนดจังหวะการปิดเพื่อช่วยลดแรงกระแทก และลดเสียงรบกวนที่เกิดจากการปิดหน้าบานโดยที่คุณอาจไม่ได้ตั้งใจ เป็นเหมือนการควบคุมให้หน้าบานเปิด-ปิดเองได้แบบอัตโนมัติ โดยที่ผู้ใช้ออกแรงในการยกเปิด และกดปิดในจังหวะแรก ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะพบเห็นการนำอุปกรณ์โช้คอัพสำหรับเปิด-ปิดหน้าบาน มาติดตั้งในชิ้นงานตู้เฟอร์นิเจอร์หลากหลายประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักจะใช้กับตู้ที่มีตำแหน่งติดตั้งอยู่ที่สูง เช่นตู้ติดผนังกำแพง มักจะมีความสูงที่มากกว่าตู้บานเปิดทั่วไป ดังนั้นการใช้โช้คอัพก็จะช่วยให้ใช้งานได้สะดวก ง่าย และผ่อนแรงในการเปิด-ปิดได้มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการถนอมหน้าบาน รวมถึงวงกบของตู้ไม่ให้เกิดการกระแทกเนื่องจากส่วนใหญ่โช้คจะมีระบบ Soft Close คือกลไกที่ทำให้สามารถเปิด-ปิดอย่างนุ่มนวล . ปัจจุบันมีโช้คปิดประตูวางจำหน่ายตามท้องตลาดจำนวนมากให้เลือกซื้อ ส่วนในเรื่องของราคาก็มีความแตกต่างกันตามคุณภาพวัสดุในการผลิต ดังนั้นในบทความนี้ ฟิวเจอร์เทคฯ จะมาแนะนำอุปกรณ์โช้คอัพสำหรับเปิด-ปิดหน้าบานตู้ ที่เป็นอุปกรณ์คุณภาพดี มีมาตรฐานการผลิตสูงให้คุณผู้อ่านได้รู้จักกันค่ะ ก่อนอื่นการเลือกโช้คเปิด-ปิดหน้าบานที่มีคุณภาพ และเหมาะสมตอบโจทย์กับความต้องการในการใช้งาน เราจำเป็นที่จะต้องเข้าใจเกี่ยวกับ ตัวสินค้าว่ามีกลไกการเปิด-ปิดอย่างไร ซึ่งปกติทั่วไปโช้คที่นำมาใช้กับตู้เฟอร์นิเจอร์จะเป็นโช้คประตูติดลอย คือเป็นโช้คที่นิยมนำมาติดตั้งที่ขอบประตู ด้านบานพับ ซึ่งเหมาะสำหรับหน้าบานตู้ที่มีการใช้เปิดเพียงด้านเดียว และสามารถติดตั้งได้หลายแบบ เช่น ติดตั้งที่โครงด้านข้างของตู้ หรือ ติดตั้งแบบขนานที่ขอบโครงตู้บน หรือล่างก็ได้ โช้คอัพที่แนะนำให้ใช้ควรผลิตจากวัสดุอลูมิเนียมคุณภาพดี มีความแข็งแรงทนทานสูง ไม่ก่อให้เกิดสนิม และแขนโช้คสามารถเปิดกว้างได้ ประมาณ 180 องศา ในส่วนของการเลือกนำไปติดตั้งใช้งาน ควรคำนวณถึงน้ำหนักของหน้าบานตู้ (บางตู้อาจมีหน้าบานขนาดใหญ่ หรือใช้ประเภทวัสดุของหน้าบานที่มีน้ำหนักมาก) […]
สไตล์ไฮเทค คือ สไตล์สถาปัตยกรรมและการตกแต่งภายในซึ่งมีต้นกำเนิดในปี 1980 โดดเด่นด้วยการใช้โครงสร้างแก้ว พลาสติกและโลหะแบบท่อ รวมทั้งแสงแบบกระจายศูนย์ สร้างเอฟเฟ็กต์ของห้องที่กว้างขวาง และมีแสงสว่างเพียงพอ ลักษณะสี: ส้ม-ดำ, น้ำเงิน-เหลือง และ เงิน-เมทัลลิค มันเป็นสไตล์ที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว ระหว่างพื้นที่ และแสง รูปทรงของวัตถุและสีของวัตถุในสัดส่วนที่เหมาะสม ให้อารมณ์ความรู้สึกถึงบรรยากาศที่นิ่งสงบ ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการออกแบบตกแต่งภายในใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย และสมัยนี้เราจะพบเห็นการออกแบบตั้งแต่โครงสร้างรวมถึงการตกแต่งภายในที่นำเอาเทคโนโลยีชั้นสูงมาใช้ทั้งในตึกอาคารสูง จนถึงบ้านอยู่อาศัย จนถึงในอพาร์ทเม้นท์ โดยภาพรวมสไตล์นี้จะเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนในเมือง เหมาะสำหรับผู้ชื่นชอบงานปาร์ตี้ และเหมาะกับคนที่มีสไตล์เฉพาะตัว รวมถึงคนทันสมัยที่จินตนาการถึงชีวิตที่รายล้อมด้วยเทคโนโลยีแปลกใหม่ที่จะเปลี่ยนบ้านของเขาให้เป็นภาพจากอนาคต ที่สำคัญคือ การออกแบบสไตล์นี้สามารถใช้ได้แม้กระทั่งที่อยู่อาศัยขนาดเล็กอย่างเช่น คอนโด หรืออะพาร์ตเมนต์ ที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก บทความนี้ฟิวเจอร์เทคฯ ได้รวบรวมเอาข้อมูลเกี่ยวกับที่มา รวมถึงแนวทางที่เป็นเอกลักษณ์ของการตกแต่งสไตล์นี้มาให้ผู้อ่านได้ทราบกันค่ะ จุดเริ่มต้นของการนำเอาเทคโนโลยีชั้นสูงมาใช้ในวงการสถาปัตยกรรมเกิดขึ้นที่ประเทศแถบโซนอเมริกันในยุค 70 ด้วยความแปลกแหวกแนวในการตกแต่งซ่อมแซมอาคารที่พลิกภาพแนวทางที่เป็นรูปแบบดั้งเดิมอย่างชัดเจน จึงทำให้นักสถาปัตยกรรมชาวยุโรป Pompidou (ปงปีดู) ชาวฝรั่งเศส ที่ได้เห็นตัวอย่างของเทคโนโลยีชั้นสูงในการออกแบบอาคารของชาวอเมริกันในยุค 70 จึงเกิดความสนใจ และกลายเป็นผู้ปฏิวัติรูปแบบของการออกแบบตกแต่งภายใน ให้ไปทางทิศทางของ “สไตล์ไฮเทค” ให้ได้รับความนิยมมาตั้งแต่ยุค 80 จนถึงทุกวันนี้ เรามาทำความเข้าใจกับรูปแบบการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสไตล์ไฮเทคกันดูค่ะ . หลักการเฉพาะตัวของการออกแบบตกแต่งภายใน สไตล์ไฮเทค 1. การตกแต่งภายในของไฮเทคนั้นจะโดดเด่นด้วยสีสันที่สดใส และเป็นโทนเย็น 2. การจัดแสงเป็นองค์ประกอบการออกแบบเฉพาะตัวที่สำคัญ ในอาคาร […]