ไอเดียแต่งครัวสไตล์ Japandi : การผสมผสานความเรียบง่ายแบบญี่ปุ่นกับสแกนดิเนเวียน

สไตล์ Japandi เป็นแนวทางการออกแบบร่วมสมัยที่ผสมผสานหลักปรัชญาและสุนทรียศาสตร์ของการออกแบบญี่ปุ่น (Japanese) กับรูปแบบการออกแบบสแกนดิเนเวียน (Scandinavian) อย่างลงตัว สไตล์นี้กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในวงการออกแบบตกแต่งภายใน โดยเฉพาะในพื้นที่ห้องครัวที่ต้องการทั้งความสวยงามและประโยชน์ใช้สอย ทำความสะอาดสะดวก เหมาะกับทั้งบ้านขนาดเล็ก และใหญ่ บทความนี้ เราจะพาคุณไปสำรวจไอเดียการแต่งครัวสไตล์ Japandi พร้อมแนะนำเฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์ตกแต่งที่ช่วยเสริมบรรยากาศให้ครัวของคุณดูสมบูรณ์แบบ ไปติดตามอ่านกันค่ะ

.

แนวคิดพื้นฐานของสไตล์ Japandi การผสมผสานทางวัฒนธรรมการออกแบบ

Japandi เป็นการบูรณาการระหว่างสองแนวคิดการออกแบบที่มีหลักปรัชญาคล้ายคลึงกัน ได้แก่ :

  1. การออกแบบญี่ปุ่น: เน้นความเรียบง่าย ความสงบ และการเชื่อมโยงกับธรรมชาติ ตามแนวคิด “侘寂” (Wabi-Sabi) ที่เห็นคุณค่าของความไม่สมบูรณ์แบบและความเรียบง่าย
  2. การออกแบบสแกนดิเนเวียน: มุ่งเน้นฟังก์ชันการใช้งาน ความอบอุ่น และความสบาย ตามแนวคิด “Hygge” (ฮุกกะ) ที่ให้ความสำคัญกับความรู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลาย การผสมผสานทั้งสองวัฒนธรรมนี้ก่อให้เกิดสไตล์ที่มีความสมดุลระหว่างความเรียบง่ายและความอบอุ่น ระหว่างฟังก์ชันการใช้งานและความสวยงาม

.

ทำความรู้จักสไตล์ Japandi

มันคือความลงตัวของ 2 วัฒนธรรม Japandi เป็นการผสมผสานระหว่างความเรียบง่าย และความเป็นธรรมชาติจากญี่ปุ่น และตกแต่งเพิ่มความอบอุ่นรวมถึงฟังก์ชันการใช้งานจากสไตล์สแกนดิเนเวียเข้าไว้ด้วยกัน ลักษณะเด่นของครัว Japandi จะใช้โทนสีธรรมชาติ เช่น สีขาว สีเบจ สีไม้โทนอ่อน โดยนำเอาวัสดุธรรมชาติประเภทไม้ หิน กระเบื้องดินเผา มาเป็นองค์ประกอบ สไตล์นี้จะเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ดูเรียบง่ายไม่มีลวดลายฉูดฉาด  ไฮไลค์ที่สำคัญคือจะนำอุปกรณ์ฟังก์ชันแบบซ่อนได้มาช่วยเพิ่มพื้นที่เก็บของให้เป็นระเบียบ ในส่วนของแสง จะเปิดพื้นที่ให้ได้รับแสงธรรมชาติโดยใช้หน้าต่างบานใหญ่ หรือไฟ LED ส่องสว่างแบบนุ่มนวล

.

ลักษณะเด่นของสไตล์ Japandi

  • ความเรียบง่าย: ลดทอนรายละเอียดที่ไม่จำเป็น ปราศจากความฟุ่มเฟือย
  • วัสดุธรรมชาติ: เน้นการใช้วัสดุจากธรรมชาติ เช่น ไม้ หิน เซรามิก
  • โทนสีกลาง: เลือกใช้สีที่พบในธรรมชาติ โทนสีอบอุ่น ไม่ฉูดฉาด
  • ฟังก์ชันการใช้งาน: ทุกองค์ประกอบมีประโยชน์ใช้สอย ไม่มีสิ่งของที่ไม่จำเป็น
  • พื้นที่โล่ง: จัดให้มีพื้นที่ว่างเพียงพอ ไม่รกรุงรัง ตามแนวคิด “Less is More”

.

ไอเดียการออกแบบห้องครัวสไตล์ Japandi

“โทนสีของห้องครัว”

ควรเลือกใช้โทนสีหลักใช้สีขาว และสีเบจ เหตุผลที่แนะนำให้ใช้ 2 เฉดสี เนื่องจากโทนสีขาวปนเบจจะทำให้เกิดบรรยากาศอบอุ่น และเป็นธรรมชาติมากขึ้น มันช่วยเพิ่มความนุ่มนวล และความรู้สึกเป็นมิตรให้บรรยากาศคล้ายกับแสงธรรมชาติที่ส่องผ่านไม้ หรือผ้าธรรมชาติ เหมาะกับการสร้างความสมดุลแบบ Japandi ที่เน้นการเชื่อมโยงกับธรรมชาติ ( 接地气))  เทคนิคเพิ่มเติมคือ หากเลือกสีขาวปนเบจ แนะนำให้ใช้เฉดขาวที่เป็น Warm White หรือสีขาวที่มีพื้นสีครีมเล็กน้อย เพื่อสร้างความอบอุ่นและความเป็นธรรมชาติ หลีกเลี่ยงสีขาวเย็นที่ให้ความรู้สึกเหมือนสถานพยาบาล 

.

“วัสดุสำหรับเคาน์เตอร์ครัว”

เคาน์เตอร์ครัวสไตล์ Japandi จะเน้นวัสดุธรรมชาติ มีโทนสีกลาง และมีฟังก์ชันการใช้งานที่เรียบง่าย พื้นผิวเคาน์เตอร์เลือกใช้วัสดุที่มีเนื้อสัมผัสธรรมชาติ เช่น ไม้โอ๊คสีอ่อน (Scandinavian) หรือ ไม้สีดำแบบญี่ปุ่น (เช่น Walnut) ผสมกับหินแกรนิต หรือหินอ่อนขาวครีมแบบเรียบๆ บ้านสมัยใหม่ที่ต้องการความทันสมัย มักนิยมใช้เคาน์เตอร์ครัวที่เป็นหินแกรนิต หรือหินควอตซ์ เข้าชุดกับอ่างล้างชามเป็นหินควอทซ์เพื่อสร้างความสมบูรณ์แบบอย่างลงตัว เพราะมีคุณสมบัติทนทาน เข้ากันได้ดีกับสไตล์ Japandi อีกทั้งยังให้ภาพลักษณ์ที่ดูหรูหรา ทั้งนี้หากจะใครชื่นชอบวัสดุประเภทสแตนเลส ก็สามารถสร้างสรรค์เป็นเคาน์เตอร์ครัวสไตล์ “Modern Japandi” ที่เน้นความสะอาด และฟังก์ชันทนความร้อน แถมทำความสะอาดง่ายได้เช่นกัน

.

“อุปกรณ์ตกแต่งเคาน์เตอร์ครัว”

บรรดาเครื่องปรุงจำพวกเกลือ พริกไทย น้ำมัน ควรใช้ขวดแก้วทรงเรียบ หรือเซรามิกสีขาว/ดำ มีฝาปิดแบบไม้ หรือโลหะเรียบๆ  สามารถสร้างความอบอุ่น และสดใสด้วยการวางกระถางต้นไม้ที่เป็นเซรามิคสีสันสดใส โดยปลูกต้นไม้สไตล์ญี่ปุ่น เช่น บอนไซ, ซูคูเลนต์, หรือไม้เลื้อยใบเล็ก  ทั้งนี้ต้องไม่ลืมหลักการจัดวาง และองค์ประกอบ ที่ต้อง Less is More คือไม่วางของมากเกินไปบนเคาน์เตอร์  เว้นพื้นที่ว่างเพื่อให้ดูโปร่งโล่ง

ตู้เก็บของในครัว

ห้องครัวส่วนใหญ่จะติดตั้งตู้เก็บของที่บริเวณผนังกำแพงเป็นตัวช่วยเก็บอุปกรณ์ครัวให้เป็นระเบียบ เนื่องจากสไตล์นี้ต้องการความเรียบจึงแนะนำให้ใช้ตู้ที่มีลักษณะเปิดปิดเป็นฟังก์ชัน Push- Open หรือกดกระเด้งคือไม่ต้องมีมือจับ หรือปุ่มจับ  ปล่อยโชว์หน้าบานตู้เป็นแบบเรียบๆ ซึ่งจะใช้เป็น สีขาว สีเบจ สีไม้โทนอ่อนก็ได้  ทั้งนี้อาจมีการใช้ชั้นวางของแบบเปิดโล่ง โดยใช้เป็นชั้นไม้ สำหรับวางอุปกรณ์ของใช้จำเป็นติดตั้งในบางมุมของกำแพงห้องครัวเสริมเข้าไปเพื่อลดความทึบของตู้ได้เช่นกัน

.

“การจัดแสงสว่าง และไฟตกแต่งในห้องครัว Japandi”

แสงสว่างเป็นเรื่องสำคัญมากในครัว Japandi ดังนั้นเราจึงจะต้องเข้าใจการใช้ไฟในแต่ละจุดของห้องครัวให้ดี เพราะการออกแบบแสงสว่างในห้องครัวสไตล์ Japandi นั้น หัวใจสำคัญคือต้องผสมผสานระหว่างความฟังก์ชันนัล  และความสวยงามแบบมินิมอล โดยเน้นแสงธรรมชาติ วัสดุอินทรีย์ และการจัดแสง (Layer Lighting) เพื่อสร้างบรรยากาศที่สงบที่ให้ความรู้สึกเหมือน ‘แสงธรรมชาติในศาลาญี่ปุ่น’ ที่มีความนุ่มลึกแต่เพียงพอต่อการใช้งานจริง มาดูการจัดแสง การแต่งไฟในห้องครัว Japandi ทีละจุดกันค่ะ

  • แสงสว่างพื้นฐาน (General Lighting)

    คือไฟที่วางเป็นแสงหลัก บนเพดานทั่วห้องครัว  จะต้องใช้เป็นประเภทไฟแบบรีเซสเซ็ดไลท์ (Recessed Lights) หรือ ดาวน์ไลท์ (Downlights) คือเป็นระบบไฟที่ถูกติดตั้งโดย “ฝัง” ลงไปในเพดาน ให้ตัวโคมอยู่ในระดับเดียวกับพื้นผิวเพดาน ทำให้มองเห็นเพียงส่วนให้แสงสว่างที่แผ่ออกมา โดยไม่มีตัวโคมยื่นออกมาให้เห็นชัดเจน วางตำแหน่งแนวตรงเหนือเคาน์เตอร์  เกาะครัว หรือซิงค์ล้างจาน  อย่างลืมรายละเอียดวัสดุขอบโคมที่ควรจะเป็นสีดำด้าน หรือสีไม้ เพื่อกลมกลืนกับสไตล์ Japandi

    • แสงสว่างเหนือเคาน์เตอร์ครัว (Task Lighting)

      ไฟเพดานแบบ Pendant Light คือ โคมไฟแขวนที่ห้อยลงมาจากเพดานด้วยสายไฟ โซ่ หรือก้านโลหะ เป็นสิ่งที่ดีไซเนอร์ออกแบบตกแต่งภายในมักใช้เพื่อให้แสงสว่าง และเพิ่มลูกเล่นทางสไตล์ให้กับพื้นที่ Japandi โดยจะทำห้อยไฟบริเวณเหนือเคาน์เตอร์ หรือเกาะครัวประมาณ 70-90 ซม. Pendant Light สไตล์ Japandi จะมีวัสดุหลากหลายแบบให้เลือกใช้ เช่น

      .

      ไฟเพดานแบบ Pendant Light คือ โคมไฟแขวนที่ห้อยลงมาจากเพดานด้วยสายไฟ โซ่ หรือก้านโลหะ  เป็นสิ่งที่ดีไซเนอร์ออกแบบตกแต่งภายในมักใช้เพื่อให้แสงสว่าง และเพิ่มลูกเล่นทางสไตล์ให้กับพื้นที่ Japandi  โดยจะทำห้อยไฟบริเวณเหนือเคาน์เตอร์ หรือเกาะครัวประมาณ 70-90 ซม. Pendant Light สไตล์ Japandi จะมีวัสดุหลากหลายแบบให้เลือกใช้ เช่น

      – โคมกระดาษวาชิทรงกลม หรือทรงกระบอก ที่ให้แสงนุ่มคล้ายแสงธรรมชาติ

      – โคมไม้โอ๊ค/วอลนัท โดยดีไซน์ตัวโคมไม้จะเป็นทรงเรขาคณิต เน้นเนื้อไม้ และเส้นเรียบ

      – โคมเซรามิก สีเอิร์ธโทน (เบจ, เทา, ดำ) ให้ความรู้สึกที่ดูโมเดิร์นขึ้นแต่ยังให้ความรู้สึกอบอุ่น

       – โคมโลหะดำ+แก้ว ดูคลีนๆ ผสมผสานระหว่างสแกนดิกับญี่ปุ่น

      – แสงไฟโซนเตรียมอาหาร (Work Counter) ติดตั้งไฟใต้ตู้ (Under-Cabinet Lighting) บริเวณเหนือเคาน์เตอร์เตรียมอาหารโดยใช้ LED COB Strip สีอบอุ่น Warm Light

      – แสงสว่างจุดเด่น (Accent Lighting)

      .

      หากบริเวณพื้นที่ครัวมีตู้โชว์เครื่องใช้สไตล์ญี่ปุ่นเช่น ชามเซรามิก บริเวณนั้นเป็นจุดที่เราจะทำให้เป็นจุดเด่น แนะนำให้ติดไฟแบบ Open Shelf Lighting คือ การใช้ระบบไฟเพื่อส่องสว่าง และเน้นความสวยงามของสิ่งของในชั้นวาง โดยมักใช้ไฟประเภท LED Strip, Track Light หรือ Puck Light  ที่สามารถติดตั้งอย่างแนบเนียน เพื่อสร้างทั้งความสว่าง และบรรยากาศที่อบอุ่น เหมาะกับสไตล์ Japandi ที่เน้นความเรียบง่ายแต่มีฟังก์ชัน  

      การออกแบบห้องครัวสไตล์ Japandi เป็นการผสมผสานระหว่างความเรียบง่ายแบบญี่ปุ่นกับฟังก์ชันการใช้งานแบบสแกนดิเนเวียนได้อย่างลงตัว สไตล์นี้ไม่เพียงแต่สร้างความสวยงามทางสุนทรียศาสตร์ แต่ยังมอบประโยชน์ใช้สอยที่ตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตประจำวัน ความลงตัวของ Japandi อยู่ที่ “ความพอดี” ไม่หนักหน่วงด้วยองค์ประกอบตกแต่งที่ไม่จำเป็น แต่เน้นฟังก์ชันการใช้งานและการจัดวางที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังสร้างพื้นที่ที่ไม่เพียงใช้เตรียมอาหาร แต่ยังเป็นพื้นที่ที่มอบความสงบและผ่อนคลายให้กับผู้ใช้งาน สะท้อนปรัชญาการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายแต่มีคุณภาพ

      การนำแนวคิดการออกแบบห้องครัวสไตล์ Japandi มาประยุกต์ใช้จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างพื้นที่ที่ผสมผสานความงามกับประโยชน์ใช้สอย และมอบประสบการณ์การใช้งานที่ลงตัวในทุกมิติ

      .

      Leave a Reply