รางลิ้นชัก เป็นอุปกรณ์ฟิตติ้งที่ช่วยให้เฟอร์นิเจอร์ของคุณมีฟังก์ชั่นในการใช้งานได้คุ้มค่ามากขึ้น โดยทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของตัวกล่องลิ้นชัก และสิ่งของที่เราจะบรรจุลงไปปัจจุบันมีรางลิ้นชักหลายแบบ และแต่ละแบบก็มีวิธีติดตั้งต่างกันบทความนี้ จะนำเสนอแนวทางการเลือกซื้อรางลิ้นชักแบบต่างๆ ค่ะ
วิธีการเลือกซื้อรางลิ้นชัก
1.เลือกรางลิ้นชักจากวิธีการเปิดลิ้นชัก
- แบบทั่วไปที่มีมือจับ(แบบดึง)
นิยมใช้เพราะสามารถเลือกมือจับแบบต่างๆ ให้เข้ากับสไตล์ของเฟอร์นิเจอร์ได้
- แบบกดกระเด้ง Push Open
โชว์หน้าบานเรียบ ตอบโจทย์ผู้ชื่นชอบแนวมินิมอล
- ระบบกดเปิดลิ้นชักแบบอัตโนมัติ
นิยมใช้สำหรับงาน High-end
2.รางลิ้นชักระบบกลไกของรางลิ้นชัก
- แบบมีระบบ Soft close
ช่วยให้เปิด-ปิดลิ้นชักได้อย่างนุ่มนวล ลดปัญหาการกระแทก เป็นการยืดอายุการใช้งานเฟอร์นิเจอร์
- แบบไม่มีระบบ Soft close
ส่วนใหญ่รางลิ้นชักแบบตอนเดียว (Single extention) จะไม่มีระบบ Soft Close ที่ช่วยในการลดแรงกระแทกจากการปิดลิ้นชัก เหมาะกับลิ้นชักที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมาก
3.เลือกรางลิ้นชักจากลักษณะการติดตั้ง
- แบบซ่อนใต้กล่อง / รางลิ้นชักรับใต้ได้รับความนิยมในหมู่งานบิ้วอินมากที่สุด ตัวรางรับด้านใต้ซ่อนราง ทำให้ดูสวยงาม ดูโมเดิร์นสามารถรับน้ำหนักได้ดี
- แบบติดด้านข้างกล่อง / ราวลิ้นชักแผงข้าง
พบเห็นกันได้ทั่วไปตามเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เป็นรางลักษณะติดด้านข้าง 2 ตอน สามารถเลื่อนรางลิ้นชักออกมาได้จนสุด
- แบบตอนเดียว
มีข้อดีคือ ราคาถูกตัว แต่รางลิ้นชักเลื่อนออกมาได้น้อย รับน้ำหนักได้ไม่มาก
- รางลูกปืนแบบสองตอน / สามตอน
มีข้อดีกว่าตอนเดียวตรงที่ ความยาวรางเท่ากัน ใส่ของได้เท่ากัน แต่เมื่อดึงออกมา จะมองเห็นสิ่งของภายในได้มากกว่า
4.เลือกรางลิ้นชักจากความยาวของลิ้นชัก
- ความยาวของลิ้นชัก วัดจากความลึกภายในของโครงสร้างจากด้านหน้าถึงด้านหลัง
- เลือกขนาดรางลิ้นชักให้ตื้นกว่าความยาวของโครงตู้ประมาณ 1ไซส์ (เผื่อพื้นที่ยึดด้านหลัง)
- กรณีติดตั้งหน้าบานแบบในขอบ ให้บวกความหนาของหน้าบานเพิ่มด้วย
5.เลือกการรับน้ำหนักของรางลิ้นชัก
ดูว่าเราจะใส่อะไรเข้าไปในลิ้นชักบ้าง และเลือกใช้รางลิ้นชักที่สามารถรับน้ำหนักได้สมดุลกัน