“บานพับซ่อน” (3D Adjustable Concealed Hinge) บานพับซ่อน หรืออีกชื่อที่นิยมเรียกคือ บานพับข้อเสือ เป็นบานพับอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมใช้กับบานประตูเช่นเดียวกับบานพับผีเสื้อ แต่บานพับซ่อนจะมีความพิเศษตรงที่เมื่อปิดประตู บานพับจะถูกซ่อนไม่เห็นแกนบานพับเหมือนบานพับผีเสื้อ ทำให้เกิดความสวยงามหรูหรามากขึ้น ลักษณะของบานพับซ่อนออกแบบให้มีลักษณะเหมือนตะขอที่เกี่ยวกันซ่อนไว้ที่สันวงกบ และประตูทำให้มองไม่เห็นเมื่อปิดประตู ลักษณะของบานพับซ่อน เป็นบานพับที่สามารถเปิดบานตู้ได้ถึง 180 องศา ในส่วนของการติดตั้งจะต้องเจาะฝังตัวบานพับไว้ และความพิเศษของบานพับซ่อนรุ่นนี้มันอยู่ตรงที่ เมื่อปิดบานประตูบานพับจะถูกซ่อนแบบมองไม่เห็นแกนบานพับ ซึ่งต่างกับบานพับทั่วไปที่นิยมใช้กับตู้เฟอร์นิเจอร์ ด้วยดีไซน์ของบานพับซ่อน รวมถึงคุณสมบัติของมันช่วยทำให้ภาพรวมของหน้าบานประตูเวลาปิดจะดูแนบสนิทกันมากๆ แทบจะไม่มีช่องว่าง ทำให้ประตูดูเรียบเนียน ประณีตสวยงามมากๆ ค่ะ สำหรับอุปกรณ์บานพับซ่อนรุ่นใหม่ที่ฟิวเจอร์เทคฯอยากแนะนำให้รู้จักเป็นอุปกรณ์บานพับที่มีดีไซน์เรียบหรู เหมาะกับการใช้งานออกแบบที่ต้องการความเรียบหรู สวยงาม ที่สำคัญคือตัวอุปกรณ์รุ่นนี้ผ่านการทดสอบ เปิด-ปิด ถึง 50,000 ครั้ง ทำให้มั่นใจได้ว่ามันมีความทนทาน คุ้มค่ากับการใช้งานได้ยาวนาน เราไปดูคุณสมบัติข้อดีของบานพับซ่อนของฟิวเจอร์เทคฯกันค่ะ . ข้อดีของบานพับซ่อน รุ่น No.800004040 และ No.800009040 1. ปรับแต่งบานประตูได้ 3 ทิศทาง (3D) แนวตั้ง +-3.0 มม. , แนวนอน +-2.0 มม. ,แนวลึก +-1.0 มม.2. เปิดหน้าบานได้กว้างถึง 180 องศา3. รับน้ำหนักหน้าบานได้สูงสุด 40 กก. ต่อการใช้บานพับ 2 อัน4. […]
Tag Archives: บานพับ
บ้านส่วนใหญ่ใช้พื้นที่บริเวณผนังออกแบบตกแต่งโดยติดตั้งตู้แขวนเข้าไป เพื่อให้เกิดความสวยงาม และยังใช้ประโยชน์ ไปในตัว เพราะมันสามารถเพิ่มพื้นที่จัดเก็บข้าวของ เครื่องใช้ ทำบ้านให้ดูเป็นระเบียบ สะอาดตาได้โดยที่ไม่กินพื้นที่ได้มากทีเดียว นอกเหนือจากดีไซน์ของตู้ที่จะเลือกใช้ตามชอบแล้ว ยังอยากให้คุณใส่ใจในเรื่องความสะดวก ฟังก์ชันการใช้งานเปิด-ปิด เพราะความสำคัญของตู้ที่มีตำแหน่งติดตั้งอยู่บนผนังซึ่งเป็นระยะการใช้งานจากที่สูงนั้น ความสามารถมองหา หรือหยิบจับหาสิ่งของได้อย่างสะดวกสบายเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึง เราควรเลือกสรรรูปแบบการเปิด-ปิดของตู้ให้ดี และในบทความนี้ฟิวเจอร์เทค ฯ จะมาแนะนำฟังก์ชันรูปแบบการเปิด-ปิดบานตู้ เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งาน และตรงใจไปได้นาน ๆ ไปติดตามอ่านกันได้เลยค่ะ ฟังก์ชันรูปแบบการเปิด-ปิดหน้าบานตู้ประเภทต่าง ๆ ฟังก์ชันที่ 1. แบบบานเลื่อน ข้อดีของบานตู้แบบเลื่อนคือ สามารถเปิดใช้งานได้ในพื้นที่ที่จำกัด คือไม่ต้องใช้ระยะพื้นที่ในการเปิดหน้าบานให้กว้างออก ด้วยเหตุนี้เราจึง จะเห็นว่าตามคอนโดมิเนียม ตามหอพัก และตามห้องพักขนาดเล็ก จะนิยมใช้บานเปิดแบบนี้ นอกจากนี้ เรายังสามารถเพิ่มฟังก์ชันเสริมอย่างการใส่บานกระจก หรือบานกระจกเงาเฟรมอลูมิเนียมเป็นหน้าบานตู้ ซึ่งเป็นดีไซน์ และสไตล์ที่จะช่วยเพิ่มความสวยงาม แถมพื้นที่ยังดูโปร่งโล่งมากขึ้นด้วย . ฟังก์ชันที่ 2. แบบกดกระเด้ง Push to Open ฟังก์ชันการทำหน้าบานตู้ที่มีลักษณะการเปิดแบบกดกระเด้งไร้มือจับ เป็นอีกหนึ่งหน้าบานที่นิยมมากทีเดียว เพราะเปิด-ปิดง่ายโดยใช้แรงกด ที่หน้าบานตู้ ซึ่งหน้าบานจะแง้มขึ้นก่อนสอดมือเปิดอีกครั้ง ฟังก์ชันนี้ไม่แนะนำให้ใช้กับตู้ที่ติดตั้งตำแหน่งสูงมากนัก เพราะการใช้แรงเอื้อมกดเปิดในแนวดิ่งเป็นลักษณะท่าทางการใช้งานที่ไม่สะดวกมาก . ฟังก์ชันที่ 3. แบบยกเปิด-ปิด ด้วยระบบสปริง ตู้ประเภทนี้จะมีลักษณะการเปิดด้วยการแกว่งขึ้นด้านบน เหมาะสำหรับตู้ขนาดใหญ่ โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าบานพับที่มีสปริงในตัว […]
บานพับถ้วย อุปกรณ์ฟิตติ้งเฟอร์นิเจอร์ทำหน้าที่เปิด-ปิด และช่วยให้หน้าบานยึดติดกับโครงตู้ โดยทำหน้าที่ถ่ายแรง หรือรับน้ำหนักหน้าบานเอาไว้ บานพับถ้วยเราต้องเลือกใช้ให้ถูกกับประเภทวัสดุของหน้าบาน เช่น หน้าบานไม้ หน้าบานเฟรมอลูมิเนียม หน้าบานกระจกเปลือย และเลือกใช้ให้ตอบโจทย์กับรูปแบบที่จะทำการติดตั้งหน้าบาน เช่น ทับขอบ ริมขอบ กลางขอบ ในเรื่องความสามารถในการปรับระยะของตัวอุปกรณ์ ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เราปรับหน้าบานได้ง่าย และรวดเร็วยิ่งขึ้น ในบทความนี้มีจะบอกวิธีการปรับแต่งบานพับถ้วยให้ค่ะ ซึ่งตัวอย่างที่เรายกมาจะเป็นบานพับถ้วยแบบ 2D, 3D และ 4D ในการปรับทิศทางของบานพับแต่ละประเภทนั้น มีวิธีที่ใกล้เคียงกัน และสามารถทำเองได้ง่ายๆ มาเริ่มกันเลยค่ะ . วิธีการปรับทิศทางบานพับถ้วย 2D บานพับถ้วยที่สามารถปรับแต่งหน้าบานได้แบบ 2D นั้น เป็นบานพับแบบดั้งเดิมที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเฟอร์นิเจอร์แบบค้าส่ง บานพับ 2D นั้นออกแบบให้มีทิศทางปรับได้หลักๆ 2 ทางคือ ระยะ ซ้าย-ขวา เท่านั้น ได้แก่ บานพับถ้วย รุ่น 3004, 3011, 3019, 3026 และ 3029 เป็นต้น ทิศทางที่ 1 การปรับหน้าบานไปทางซ้าย […]